Prevalence Estimation of Dementia Among Thai Elderly : A National Survey
Sutthichai Jitapunkul, M.D., M.Sc.*, Chaiyos Kunanusont, M.D., Ph.D.**,
Wiput Phoolcharoen, M.D., Ph.D.**, Paibul Suriyawongpaisal, M.D.***
Abstract
Objective : To determine the prevalence of dementia and its associated factors among Thai elderly.
Design : A one-stage cross-sectional national survey.
Setting : National communities in Thailand.
Subjects : 4,048 elderly subjects aged 60 and above.
Results : There were 668 (16.5%) elderly with a CMT score below 15. Among these elderly, 132 were dependent as to certain aspects of self-care. According to the definition of dementia used in this one-stage survey design (i.e. subjects with a low CMT score and self-care dependence), 3.3 per cent of Thai elderly (95% confidence interval = 2.7-3.8) were classified as having dementia. After adjusting to geographic and municipal area, the prevalence rate was 3.4 per cent (95% confidence interval = 2.8-4). Age-specific prevalence rate increased dramatically from 1.0 per cent in the 60-64 age-group to 31.3 per cent in the 90+ age-group. The prevalence rate of dementia among Thai elderly found in this study did not differ from the prevalence rates among the elderly in other Asian and developed countries. Using a logistic regression analysis, 3 independent factors associated with dementia were age, literacy (writing) and geographic area.
Conclusion : With a one-stage survey design for determining the prevalence of dementia, the prevalence rate and age-specific prevalence rate among the Thai elderly did not differ from those found in other Asian and developed countries.
Key word : Dementia, Thailand, Elderly, Epidemiology, Prevalence
Jitapunkul S, Kunanusont C,
Phoolcharoen W, Suriyawongpaisal P
J Med Assoc Thai 2001; 84: 461-467
* Department of Medicine, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330,
** AIDS Division, Department of Communicable Disease Control, Munistry of Public Health, Nontaburi 11000,
*** Thailand Health Research Institute, National Health Foundation, Bangkok 10900, Thailand.
ประมาณการความชุกของกลุ่มอาการสมองเสื่อมในประชากรไทยสูงอายุ : การศึกษาระดับชาติ
สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล, พ.บ., วท.ม.*, ชัยยศ คุณานุสนธิ์, พ.บ., ปร.ด.**,
วิพุธ พูลเจริญ, พ.บ., ปร.ด.**, ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล, พ.บ.***
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความชุกของกลุ่มอาการสมองเสื่อมในประชากรไทยสูงอายุและปัจจัยที่สัมพันธ์
รูปแบบการวิจัย : การสำรวจระดับชาติแบบภาคตัดขวางขั้นตอนเดียว
สถานที่ : ชุมชนทั่วประเทศไทย
ประชากรศึกษา : ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 4,048 คน
ผลการศึกษา : พบผู้สูงอายุจำนวน 668 คน (ร้อยละ 16.5) ที่มีคะแนนของแบบทดสอบสภาพจิตจุฬาต่ำกว่า 15 คะแนน ในจำนวนนี้พบ 132 คนที่ต้องพึ่งพาในกิจวัตรดูแลตนเอง ความชุกของกลุ่มอาการสมองเสื่อมตามเกณฑ์วินิจฉัยที่กำหนดใช้ในการศึกษาครั้งนี้จึงเท่ากับร้อยละ 3.3 (95% confidence interval = 2.7-3.8) ภายหลังจากการปรับด้วยพื้นที่อยู่อาศัยและเขตการปกครองพบความชุกเท่ากับร้อยละ 3.4 (95% confidence interval = 2.8-4) อัตราความชุกตามกลุ่มอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่ออายุเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 1 ในกลุ่มอายุ 60-64 ไปเป็นร้อยละ 31.3 ในกลุ่มอายุ 90 ปีขึ้นไป อัตราความชุกของกลุ่มอาการสมองเสื่อมในประชากรไทยสูงอายุจากการศึกษานี้พบว่าไม่แตกต่างจากอัตราความชุกของประชากรสูงอายุในประเทศต่าง ๆ ของทวีปเอเชียและในประเทศที่พัฒนาแล้ว จากการวิเคราะห์ด้วย logistic regression analysis พบปัจจัยอิสระของกลุ่มอาการสมองเสื่อม 3 ชนิดได้แก่ อายุ ความสามารถในการเขียนหนังสือ และพื้นที่อยู่อาศัย (ภาค)
สรุป : จากการศึกษานี้พบว่าอัตราความชุกและอัตราความชุกตามกลุ่มอายุในประชากรไทยสูงอายุไม่แตกต่างจากที่พบในประเทศต่าง ๆ ของทวีปเอเชียและในประเทศที่พัฒนาแล้ว
คำสำคัญ : กลุ่มอาการสมองเสื่อม, ประเทศไทย, ผู้สูงอายุ, ระบาดวิทยา, ความชุก
สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล, ชัยยศ คุณานุสนธิ์, วิพุธ พูลเจริญ, ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล
จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2544; 84: 461-467
* ภาควิชาอายุรศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพ ฯ 10330
** กองโรคเอดส์, กรมควบคุมโรคติดต่อ, กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุรี 11000
*** สถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย, มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, กรุงเทพ ฯ 10900