Current Status of Gastric Cancer in Thai Patients

0
Rate this post

Current Status of Gastric Cancer in Thai Patients

Duangporn Thong-ngam, M.D.*,         Pisit Tangkijvanich, M.D.**,

Varocha Mahachai, M.D.***,                  Pinit Kullavanijaya, M.D.***

Abstract

                To determine the current status in various aspects of gastric cancer in Thai patients, we retrospectively reviewed the records of 119 patients with histologically proven gastric cancer in King Chulalongkorn Memorial Hospital during the five-year period from 1994 to 1998. There were 72 males (60.5%) and 47 females (39.5%) with ages ranging from 22 to 91 years (mean age 60.2+15.1 years). Among these, 20 patients (16.8%) were younger than 40 years. The duration of symptoms prior to first presentation averaged 20 weeks and dyspepsia and weight loss were the most common complaints. Lesion location was lower third in 40.3 per cent, middle third in 31.9 per cent, upper third in 15.1 per cent and entire stomach in 3.4 per cent of patients. Adenocarcinoma was the most common histological finding (91.6%), followed by lymphoma and leiomyosarcoma (3.4% each). Helicobacter pylori infection was detected in 17 of 25 (68%). The TMN staging was as follows: stage II, 5.9 per cent; stage III, 9.2 per cent; and stage IV, 68.9 per cent. (the stage was unknown in 16%). The overall 1-year, 2-year and 5-year survival rates were 51.6 per cent, 17.5 per cent and 4.4 per cent, respectively. Management was surgical treatment in 58.9 per cent (total gastrectomy 14.5%, subtotal gastrectomy 33.3% and palliative bypass surgery in 11.1%). Systemic chemotherapy was the primary modality of therapy in 16.8 per cent and was adjuvant therapy in 18.5 per cent. The median survival time of resectable cases was 1.00+0.53 years, significantly longer than that of unresectable cases (0.11+0.03 years) (p=0.0025). However, the administration of chemotherapy did not improve the survival rate. It is concluded that, in Thailand, gastric cancer continues to be an important health problem and is generally associated with a poor prognosis.

Key word : Gastric Cancer, Thai Patients

Thong-ngam D, Tangkijvanich P, Mahachai V, Kullavanijaya P

J Med Assoc Thai 2001; 84: 475-482

 *             Division of Gastroenterology, Department of Physiology,

 **            Department of Biochemistry

***           Gastroenterology Unit, Department of Medicine, King Chulalongkorn Memorial Hospital, Bangkok 10330, Thailand.

สถานะการณ์ของมะเร็งกระเพาะอาหารในคนไทย

ดวงพร ทองงาม, พ.บ.*, พิสิฐ ตั้งกิจวานิชย์, พ.บ.**,

วโรชา มหาชัย, พ.บ.***, พินิจ กุลละวณิชย์, พ.บ.***

                เพื่อต้องการทราบถึงข้อมูลพื้นฐานและการดำเนินโรคของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารในคนไทย จึงทำการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่ มกราคม 2537 ถึง ธันวาคม 2541 ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารจากผลการตรวจทางชิ้นเนื้อพยาธิวิทยา จำนวนทั้งสิ้น 119 ราย ผลการศึกษาพบว่าเป็นผู้ป่วยชาย 72 ราย (60.5%) หญิง 47 ราย (39.5%) อายุเฉลี่ย 60.16 + 15.14 ปี อายุที่น้อยที่สุดคือ 22 ปี และมากที่สุดคือ 91 ปี มีผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 40 ปี จำนวน 16.8% ระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการจนมาพบแพทย์เฉลี่ย 20 สัปดาห์ โดยอาการที่เป็นปัญหาที่นำมามากที่สุดคือ การรู้สึกไม่สบายในท้อง และการมีน้ำหนักลด ผอมลง บริเวณส่วนของมะเร็งที่พบมากที่สุดคือ บริเวณกระเพาะอาหารส่วนปลาย 40.3%, ส่วนกลาง 31.9% และกระเพาะอาหารส่วนบน 15.1% ผลการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาพบว่าเกือบทั้งหมดเป็นชนิด Adenocarcinoma 91.6% และที่เหลือเป็นชนิด Lymphoma 3.4%, Leiomyosarcoma 3.4% ตรวจพบการติดเชื้อ H. pylori 68% ผู้ป่วยที่มาพบว่าอยู่ในระยะที่ 2 จำนวน 7 ราย, ระยะที่ 3 จำนวน 11 ราย, ระยะที่ 4 จำนวน 82 ราย ตามลำดับ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่ 89.7% มีการกระจายของมะเร็งไปแล้ว โดยบริเวณที่พบการกระจายของมะเร็งมากที่สุดคือ ต่อมน้ำเหลือง นอกจากนี้อวัยวะที่มะเร็งชอบลุกลามไปอีกคือตับและเยื่อบุช่องท้อง ผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยวิธีผ่าตัดบริเวณที่มีมะเร็งออกไปจำนวน 58.9% และไม่สามารถเอาก้อนมะเร็งออกได้จึงทำผ่าตัดโดยวิธี bypass surgery จำนวน 11.1% อัตราการรอดชีวิตในผู้ที่สามารถผ่าตัดได้ สูงกว่าผู้ที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ คือ 1.00+0.53 ปีเทียบกับ 0.11+0.03 ปี (p=0.0025). มีผู้ป่วยที่ได้รับการให้ยาเคมีบำบัดร่วมด้วย 35.3% ผลของการตอบสนองต่อการให้ยาเคมีบำบัดพบว่าอัตราการรอดชีวิตไม่แตกต่างกันระหว่างผู้ที่ได้รับและผู้ที่ไม่ได้รับยา สรุปว่ามะเร็งกระเพาะอาหารยังเป็นโรคที่มีความสำคัญต่อปัญหาสาธารณสุข ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ส่วนใหญ่โรคมักจะลุกลามแล้วทำให้การพยากรณ์โรคไม่ดี

คำสำคัญ : มะเร็งกระเพาะอาหาร, ผู้ป่วยไทย

ดวงพร ทองงาม, พิสิฐ ตั้งกิจวานิชย์, วโรชา มหาชัย, พินิจ กุลละวณิชย์

จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2544; 84: 475-482

 * ระบบทางเดินอาหาร, ภาควิชาสรีรวิทยา,

 ** ภาควิชาชีวเคมี,

*** สาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร, ภาควิชาอายุรศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพ ฯ 10330