Tetanus in Adults : A Review of 85 Cases at Chon Buri Hospital

0
Rate this post

Tetanus in Adults : A Review of 85 Cases at Chon Buri Hospital

Jirasak Kanchanapongkul, M.D.*

Abstract

                From 1988 to 1999, 85 cases of adult tetanus were admitted to the medical service of Chon Buri Hospital. The male to female ratio was 2.2:1. In 50 patients disease was severe enough to require paralysis and artificial ventilation. Fourteen patients needed diazepam and artificial ventilation but not paralysis ; and in twenty-one the condition was mild, requiring diazepam only. Eleven patients died, all of them had severe grade of tetanus. The mortality rate was 12.9 per cent. In 70 patients a wound was the source of infection, most of which were minor, often receiving no medical attention. No wounds or obvious source of infection could be found in 15 patients.

                Tetanus is a preventable disease. The treatment of tetanus is time ะ consuming and costly and there is still a considerable mortality rate. In moderate to severe cases, the patients usually have to spend three to four weeks in an intensive care unit.

Key word : Tetanus

Kanchanapongkul j

J Med Assoc Thai 2001; 84: 494-499

* Department of Medicine, Chon Buri Hospital, Chon Buri 20000, Thailand.

บาดทะยักในผู้ใหญ่ : ทบทวนผู้ป่วย 85 ราย ในโรงพยาบาลชลบุรี

จีรศักดิ์ กาญจนาพงศ์กุล, พ.บ.*

                ระหว่างปี พ.ศ. 2531 – 2542 มีผู้ป่วยบาดทะยักในผู้ใหญ่มารับการรักษาในกลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลชลบุรี จำนวน 85 ราย อัตราส่วนชายต่อหญิงเท่ากับ 2.2:1 ผู้ป่วย 50 ราย มีอาการหนักต้องใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมกับให้ยาหย่อนกล้ามเนื้อ ผู้ป่วย 14 ราย ใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมกับให้ยาไดอะซีแพม ผู้ป่วย 21 ราย อาการไม่มาก ไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ให้แต่ยาไดอะซีแพม มีผู้ป่วยเสียชีวิต 11 ราย ทุกรายมีอาการรุนแรงมาก คิดเป็นอัตราตายร้อยละ 12.9 ผู้ป่วย 70 ราย มีบาดแผล ส่วนใหญ่เป็นบาดแผลเล็กน้อย มีผู้ป่วย 15 ราย ที่ไม่พบบาดแผล

                บาดทะยักเป็นโรคที่ป้องกันได้ การรักษาบาดทะยักต้องเสียค่าใช้จ่าย และเสียเวลามาก และอัตราตายยังสูง ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงปานกลาง หรือรุนแรงมาก ต้องรักษาในหออภิบาลนานประมาณสามถึงสี่สัปดาห์

คำสำคัญ : บาดทะยัก

จีรศักดิ์ กาญจนาพงศ์กุล

จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2544; 84: 494-499

* กลุ่มงานอายุรกรรม, โรงพยาบาลชลบุรี, ชลบุรี 20000