Short Fetal Acoustic Stimulation Test for Rapid Antepartum Assessment of Fetal Well-Being

0
Rate this post

Short Fetal Acoustic Stimulation Test for Rapid Antepartum Assessment of Fetal Well-Being

Yuen Tannirandorn, M.D.*,

Verapol Kittipibul, M.D.*

Abstract

                Short fetal acoustic stimulation test (FAST) was prospectively studied in 604 high risk pregnancies after 28 weeks of gestation. Fetal heart rates were recorded 3 minutes before and 5 minutes after fetal acoustic stimulation. The results of the tests performed within a week of delivery were compared with perinatal outcomes. Reactive response to short FAST occurred in 597 cases (98.8%) while nonreactive response was found in 7 cases (1.2%). Nine fetuses were considered poor outcomes. The sensitivity, specificity, positive predictive value, negative predictive value and accuracy of short FAST to predict poor fetal outcomes were 66.7, 99.8, 85.7, 99.5, and 99.3 per cent, respectively.

                Short FAST has high specificity, negative predictive value and accuracy for prediction of poor perinatal outcome. This rapid test should be used as a screening method for antepartum assessment of fetal well-being in a busy antenatal clinic.

Key word : Fetal Acoustic Stimulation, Antepartum Assessment, Fetal Well-Being

Tannirandorn Y & Kittipibul V

J Med Assoc Thai 2001; 84: 520-524

* Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand.

การใช้เสียงกระตุ้นทารกในครรภ์อย่างสั้น เพื่อการประเมินสุขภาพของทารกในระยะก่อนคลอด

เยื้อน ตันนิรันดร, พ.บ.*, วีรพล กิตติพิบูลย์, พ.บ.*

                ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาการใช้เสียงกระตุ้นทารกในครรภ์อย่างสั้น ในสตรีตั้งครรภ์เสี่ยงสูง 604 ราย ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 28 สัปดาห์ ได้ทำการบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจทารกเป็นเวลา 3 นาทีแล้วกระตุ้นทารกในครรภ์ด้วยกล่องเสียงเทียม และดูการตอบสนองของอัตราการเต้นของหัวใจทารกภายในเวลา 5 นาที ผลลัพธ์ของการตรวจสอบภายใน 1 สัปดาห์ ก่อนคลอดจะนำมาเปรียบเทียบกับผลลัพธ์ของทารกที่คลอด ผลการศึกษาพบว่า มีทารกในครรภ์ที่ตอบสนองต่อการกระตุ้นด้วยเสียงปกติ 597 คน (ร้อยละ 98.8) และตอบสนองผิดปกติ 7 คน (ร้อยละ 1.2) มีทารก 9 รายที่มีผลลัพธ์หลังคลอดไม่ดี ผลการทดสอบในการทำนายสุขภาพที่ไม่ดีของทารกในครรภ์ก่อนคลอดพบว่า มีค่าความไวของการทดสอบเท่ากับร้อยละ 66.7 มีค่าความจำเพาะเท่ากับร้อยละ 99.8 มีความสามารถในการทำนายเมื่อเป็นโรคจริงเท่ากับร้อยละ 85.7 มีความสามารถในการทำนายเมื่อไม่เป็นโรคจริงเท่ากับร้อยละ 99.5 และมีความถูกต้องเท่ากับร้อยละ 99.3

                การใช้เสียงกระตุ้นทารกในครรภ์อย่างสั้นพบว่ามีความจำเพาะ ความสามารถในการทำนายเมื่อไม่เป็นโรคจริงและความถูกต้องสูง ในการทำนายสุขภาพที่ไม่ดีของทารก การตรวจสอบนี้สามารถนำมาใช้ในการตรวจกรองสุขภาพของทารกในครรภ์ก่อนคลอด ในสถานที่ฝากครรภ์ที่มีคนมารับบริการเป็นจำนวนมาก

คำสำคัญ : การใช้เสียงกระตุ้นทารกในครรภ์, การประเมินทารกก่อนคลอด, สุขภาพของทารกในครรภ์

เยื้อน ตันนิรันดร, วีรพล กิตติพิบูลย์

จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2544; 84: 520-524

* ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพ ฯ 10330