Effect of Oral Estriol on Urogenital Symptoms, Vaginal Cytology, and Plasma Hormone Level in Postmenopausal Women
JITTIMA MANONAI, M.D.*,
URUSA THEPPISAI, M.D.*
Abstract
Objective : To evaluate the effects of oral estriol on urogenital symptoms, vaginal cytology, and plasma follicle stimulating hormone (FSH) and estradiol level in postmenopausal women with urogenital symptoms.
Method : Twenty-eight postmenopausal women with urogenital symptoms who volunteered to participate in this study received 2mg of oral estriol daily for 12 weeks. The urogenital symptoms, vaginal cytology, and plasma hormone level before and after treatment were analysed using paired t-test.
Results : The genital and urological symptoms improved (P < 0.05) after treatment in all subjects. The vaginal cytology showed estrogenic effect on the karyopyknotic index and maturation value. There was a significantly (P < 0.05) higher level of plasma estradiol after 12 weeks of treatment. However, the difference of plasma FSH level before and after treatment was not statistically significant.
Conclusion : The daily oral estriol had a positive effect on the urogenital symptoms and vaginal cytology. The plasma estradiol increased after 12 weeks of treatment but the plasma FSH did not change.
Key word : Oral Estriol, Urogenital Symptoms, Postmenopausal Women
MANONAI J & THEPPISAI U
J Med Assoc Thai 2001; 84: 539-544
* Department of Obstetrics and Gynaecology, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok 10400, Thailand.
ผลของฮอร์โมนเอสไตรออลต่ออาการของระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์เซลล์วิทยาของช่องคลอด และระดับฮอร์โมนในสตรีวัยหมดประจำเดือน
จิตติมา มโนนัย, พ.บ.*, อุรุษา เทพพิสัย, พ.บ.*
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของฮอร์โมนเอสไตรออลชนิดรับประทานต่ออาการของระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ เซลล์วิทยาของช่องคลอด ระดับฮอร์โมนฟอลลิเคิลสติมูเลติ้งฮอร์โมนและเอสตร้าไดออลในกระแสเลือดของสตรีวัยหมดประจำเดือน
วิธีดำเนินงานวิจัย : สตรีวัยหมดประจำเดือนที่มีอาการของระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งหมดจำนวน 28 ราย ได้รับฮอร์โมนเอสไตรออลชนิดรับประทานนาน 12 สัปดาห์
ผลการวิจัย : อาการของระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เซลล์วิทยาของช่องคลอดแสดงถึงภาวะที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนภายหลังการรักษา ระดับฮอร์โมนเอสตร้าไดออลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ระดับฮอร์โมนฟอลลิเคิลสติมูเลติ้งฮอร์โมนไม่เปลี่ยนแปลงภายหลังการรักษา
สรุป : ฮอร์โมนเอสไตรออลชนิดรับประทานมีผลดีต่ออาการของระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์เซลล์วิทยาของช่องคลอดในสตรีวัยหมดประจำเดือน รวมทั้งมีผลเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสตร้าไดออลในกระแสเลือด
คำสำคัญ : ฮอร์โมนเอสไตรออล, อาการของระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์, สตรีวัยหมดประจำเดือน
จิตติมา มโนนัย, อุรุษา เทพพิสัย
จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2544; 84: 539-544
* ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพ ฯ 10400