Efficacy and Safety of Gabapentin as an Add-On Therapy in Refractory Partial Epileptic Patients

0
Rate this post

Efficacy and Safety of Gabapentin as an Add-On Therapy in Refractory Partial Epileptic Patients

Somchai Towanabut, M.D.*,

Lek Rungreangyingyod, M.Sc.**,

Chuthamanee Suthisisang, Ph.D.***

Abstract

                The study on the efficacy and safety of gabapentin as an add-on therapy trial was performed in 10 refractory partial seizure cases at Prasat Neurological Institute, Thailand from September 1996 to July 1998. This was an open-labeled titration dose of gabapentin starting at 600 mg/day add-on to the previously prescribed conventional antiepileptic drugs (AEDs). In cases that seizures could not be controlled, gabapentin dose was increased by 300 mg per day every two weeks until the total dose of 3,000 mg or until the side effects became intolerable.

                The result revealed that gabapentin reduced frequency, duration and severity of seizures and also improved the patients’ activities of daily living (ADL) even at the minimum dose of 600 mg. The optimal dose of gabapentin was in the range of 600 to 1,200 mg per day. Seven patients were seizure free at the end of the study. There were some precipitating factors that interfered with the efficacy of gabapentin in some patients such as stress, menstruation, fever, and alcohol intake.

                Weight gain, somnolence, nystagmus, and dizziness were the major adverse events in these patients, whereas ataxia, tremor, and diplopia were found with gabapentin in a dose higher than 1,800 mg/day. These adverse events were mild and transient. No patients withdrew from the study due to adverse drug reactions. In addition, gabapentin did not alter conventional AED blood level and routine laboratory parameters.

                In conclusion, gabapentin was effective and well tolerated as an add-on therapy in refractory partial epileptic Thai patients.

Key word : Epilepsy, Refractory Partial Seizure, Gabapentin, Partial Seizure

Towanabut S, Rungreangyingyod L, Suthisisang C

J Med Assoc Thai 2001; 84: 554-561

 *             Department of Medical Services, Prasat Neurological Institute,

 **            Department of Pharmacy,

***           Department of Pharmacology, Faculty of Pharmacy, Mahidol University, Bangkok 10400, Thailand.

ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของการใช้ gabapentin ในผู้ป่วยไทยที่เป็น refractory partial seizures ที่สถาบันประสาทวิทยา

สมชาย โตวณะบุตร, พ.บ., ว.ว. (ประสาทวิทยา)*,

เล็ก รุ่งเรืองยิ่งยศ, ภ.ม. (เภสัชกรรมคลินิก)**, จุฑามณี สุทธิสีสังข์, ป.ร.ด. (เภสัชวิทยา)***

                การศึกษาประสิทธิภาพของยา gabapentin ในการเป็น add-on therapy ทำในผู้ป่วย refractory partial seizure 10 คน การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบ open-labeled โดยเพิ่มขนาดยา gabapentin ขึ้น เริ่มที่ 600 มิลลิกรัมต่อวัน ร่วมกับยากันชักแบบเดิมที่เคยได้รับอยู่ ในกรณีที่ยังไม่สามารถควบคุมอาการชักได้ ให้เพิ่มขนาดยา gabapentin ขึ้น 300 มิลลิกรัมต่อวันทุก ๆ 2 สัปดาห์จนกระทั่งได้ขนาดยาทั้งหมด 3,000 มิลลิกรัมหรือผู้ป่วยไม่สามารถทนอาการข้างเคียงของยา ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ายา gabapentin ลดความถี่ ระยะเวลา ความรุนแรงในการชัก และยังเพิ่มความสามารถในการดำรงชีวิตประจำวันของผู้ป่วยแม้ในขนาดยาต่ำสุดที่ 600 มิลลิกรัม ขนาดยา gabapentin ที่เหมาะสมจะอยู่ในช่วง 600-1,200 มิลลิกรัมต่อวัน ผู้ป่วย 7 คนปลอดจากการชักเมื่อจบการศึกษา ในระหว่างการใช้ยา gabapentin รักษา มีปัจจัยบางอย่างมีผลลดประสิทธิภาพของยาในผู้ป่วยบางคน เช่น ความเครียด การมีประจำเดือน ไข้ และได้รับเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์

                อาการไม่พึงประสงค์หลักที่พบในผู้ป่วยคือ น้ำหนักตัวเพิ่ม ง่วงนอน ตากระตุก และอาการวิงเวียน ส่วนอาการเดินเซ มือสั่น และเห็นภาพซ้อน จะพบในขนาดยา gabapentin มากกว่า 1,800 มิลลิกรัมต่อวัน อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงน้อยและเป็นอยู่ชั่วคราว ไม่มีผู้ป่วยถอนตัวจากการรักษาเนื่องจาก adverse event ของยา นอกจากนี้ยา gabapentin ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงระดับยาในเลือดของยารักษาโรคลมชักแบบเดิมและไม่ทำให้เกิดความผิดปรกติกับค่าต่าง ๆ ที่ตรวจทางห้องปฏิบัติการ

                สรุปได้ว่ายา gabapentin ที่ใช้เป็น add-on therapy มีประสิทธิภาพดีและผู้ป่วยทนยาได้ดีในผู้ป่วยไทยที่เป็น refractory partial seizure

คำสำคัญ : โรคลมชัก, ชักชนิดดื้อด้าน, กาบาเพนติน, ชักเฉพาะที่

สมชาย โตวณะบุตร, เล็ก รุ่งเรืองยิ่งยศ, จุฑามณี สุทธิสีสังข์

จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2544; 84: 554-561

 *             สถาบันประสาทวิทยา, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข,

 **            ภาควิชาเภสัชกรรม,

***           ภาควิชาเภสัชวิทยา, คณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพ ฯ 10400