The Effectiveness of Lumbosacral Corset in Symptomatic Degenerative Lumbar Spinal Stenosis

0
Rate this post

The Effectiveness of Lumbosacral Corset in Symptomatic Degenerative Lumbar Spinal Stenosis

Pradit Prateepavanich, M.D.*,           Surin Thanapipatsiri, M.D.*,

Panida Santisatisakul, PT.*,               Piengjai Somshevita, B.N.*,

Tassanee Charoensak, B.N.*

Abstract

                Lumbosacral corset is a spinal support widely used for patients suffering from low back pain due to various conditions. To evaluate the effectiveness of the corset in symptomatic degenerative lumbar spinal stenosis, twenty one patients (mean age 62.5 + 5.2 years) with neurogenic claudication (mean onset 9.0 + 9.3 months) were recruited for and completed a self controlled comparative study (with and without a corset). Quantitative and qualitative assessment in terms of walking distance and pain score (0-10 point visual analog scale) in daily activities respectively, compared between wearing and not wearing the corset were measured. The outcome of the study showed statistically significant improvement in walking distance (393.2 + 254.0 m and 314.6 + 188.8 m) and decrement of pain score in daily activities (4.7 + 1.4 and 5.9 + 1.0) with and without corset dressing respectively. This result supports the positive effect of the lumbosacral corset in pain relief and functional improvement of the degenerative lumbar spinal stenosis condition.

Key word : Corset, Neurogenic Claudication, Spinal Stenosis

Prateepavanich P, Thanapipatsiri S,

Santisatisakul P, Somshevita P, Charoensak T

J Med Assoc Thai 2001; 84: 572-576

*              Department of Rehabilitation Medicine, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok 10700, Thailand.

ประสิทธิผลของเฝือกอ่อนพยุงเอวต่ออาการของช่องประสาทไขสันหลังบริเวณเอวแคบจากภาวะกระดูกสันหลังเสื่อม

ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช, พ.บ.*, สุรินทร์ ธนพิพัฒนศิริ, พ.บ.*,

พนิดา ศานติสาธิตกุล, วทบ., กบ.*, เพียงใจ สมชีวิตา, พยบ.*, ทัศนีย์ เจริญศักดิ์, พยบ.*

                เฝือกอ่อนพยุงเอวเป็นกายอุปกรณ์พยุงหลังที่นิยมใช้ในผู้ป่วยที่ทนทุกข์จากอาการปวดหลังในหลายสาเหตุ เพื่อที่จะประเมินผลของเฝือกอ่อนพยุงเอวในการรักษาอาการของช่วงประสาทไขสันหลังบริเวณเอวแคบจากภาวะกระดูกเสื่อม ผู้ป่วย 21 ราย (อายุเฉลี่ย 62.5 + 5.2 ปี) ที่มีอาการ นิวโรเจนนิก คลอดิเคชั่น (ระยะเวลาที่มีอาการเฉลี่ย 9.0 + 9.3 เดือน) ถูกรวบรวมมาทำการศึกษาเปรียบเทียบ (ใส่เฝือกอ่อนกับไม่ใส่) ประเมินผลเชิงปริมาณและคุณภาพจากระยะทางที่สามารถเดินได้และระดับความรุนแรงของอาการปวด (0-10 คะแนน) ในการประกอบกิจวัตรประจำวันตามลำดับ เปรียบเทียบระหว่างเมื่อใส่เฝือกอ่อนพยุงเอวกับขณะที่ไม่ใส่ ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติในการเพิ่มขึ้นของระยะทางที่ผู้ป่วยสามารถเดินได้ (393.2 + 254.0 ม. และ 314.6 + 188.8 ม.) ความรุนแรงของอาการปวดในการประกอบกิจวัตรประจำวันลดลง (4.7 + 1.4 และ 5.9 + 1.0) เมื่อเปรียบเทียบขณะใส่เฝือกอ่อนและไม่ใส่ตามลำดับ ผลลัพธ์นี้สนับสนุนว่าเฝือกอ่อนพยุงเอวมีผลในการบรรเทาอาการของช่วงประสาทไขสันหลังบริเวณเอวแคบจากภาวะกระดูกเสื่อมใน ระดับหนึ่ง

คำสำคัญ : ช่องประสาทไขสันหลังแคบ, อุปกรณ์พยุงหลัง

ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช, สุรินทร์ ธนพิพัฒนศิริ,

พนิดา ศานติสาธิตกุล, เพียงใจ สมชีวิตา, ทัศนีย์ เจริญศักดิ์

จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2544; 84: 572-576

* ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพ ฯ 10700