Total Hypopharyngeal Reconstruction
Pichit Sittitrai, M.D.*,
Thienchai Pattarasakulchai, M.D.*
Abstract
In advanced hypopharyngeal carcinoma, the tumor may involve the entire hypopharyngeal mucosa and the larynx. After total laryngohypopharyngectomy is done, reconstruction of the circumferential defect of the hypopharynx is a challenge. We described our results of using a myomucosal tongue flap with dermal or skin graft (MTF) in 8 patients and using a tubed pectoralis major myocutaneous flap (TPMF) in 10 patients to reconstruct the total hypopharynx. There was no operative mortality. Fistula formation occurred in 3 patients of the MTF group and 4 in the TPMF group but all had spontaneous healing after conservative treatment. One in the MTF group and 4 in the TPMF group had stenosis of the anastomotic sites. Almost all responded well with periodic dilatation. Only one patient in the TPMF group who had been previously irradiated required gastrostomy for feeding. The 5-year actuarial survival rate of our patients was 32 per cent.
These results show that total hypopharynx can be reconstructed with the above noted procedures. The survival rate is good, the morbidity rate is acceptable, and the perioperative mortality rate is zero.
Key word : Carcinoma, Hypopharynx, Total Hypopharyngeal Reconstruction, Myomucosal Tongue Flap, Tubed Pectoralis Major Myocutaneous Flap
SITTITRAI P & PATTARASAKULCHAI T
J Med Assoc Thai 2001; 84: 617-621
* Department of Otolaryngology, Faculty of Medicine, Chiang Mai University, Chiang Mai 50200, Thailand.
การซ่อมแซมส่วนฮัยโปฟาริงซ์ทั้งหมด
พิชิต สิทธิไตรย์, พ.บ.*, เธียรไชย ภัทรสกุลชัย, พ.บ.*
การซ่อมแซมส่วนฮัยโปฟาริงซ์ทั้งหมด หลังการผ่าตัดเอากล่องเสียงและฮัยโปฟาริงซ์ออก ในผู้ป่วยมะเร็งของฮัยโปฟาริงซ์สามารถกระทำได้หลายวิธี ได้รายงานผลการซ่อมแซมฮัยโปฟาริงซ์ในผู้ป่วย 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ใช้แฟลบจากเยื่อบุและกล้ามเนื้อของลิ้น ร่วมกับชิ้นเนื้อเยื่อของผิวหนัง ในผู้ป่วย 8 ราย กลุ่มที่ 2 ใช้แฟลบจากผิวหนังและกล้ามเนื้อของ pectoralis major ที่ม้วนเป็นท่อ ในผู้ป่วย 10 ราย ไม่พบการเสียชีวิตจากการผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนมีแผลทะลุ 3 รายในผู้ป่วยกลุ่มแรก และ 4 รายในกลุ่มที่ 2 ทุกรายแผลหายจากการรักษาแบบประคับประคอง มีการตีบตันที่ตำแหน่งเชื่อมต่อ 1 รายในกลุ่มแรก และ 4 รายในกลุ่มที่ 2 เกือบทุกรายสามารถแก้ไขให้กลับมารับประทานทางปากได้ด้วยการถ่างขยายทางเดินอาหาร มีเพียง 1 รายที่ต้องผ่าตัดเพื่อใส่สายให้อาหารลงกระเพาะผ่านทางผนังหน้าท้อง อัตรารอดชีวิตในเวลา 5 ปีใช้วิธีคิดแบบ แอคชูเอเรียล เท่ากับ 32 เปอร์เซ็นต์
จากผลการรักษา พบว่าการซ่อมแซมส่วนของฮัยโปฟาริงซ์ทั้งหมด ด้วย 2 วิธีดังกล่าว มีอัตรารอดชีวิตที่ดี ภาวะแทรกซ้อนที่ไม่มาก และไม่มีการเสียชีวิตจากการผ่าตัด
คำสำคัญ : มะเร็ง, ฮัยโปฟาริงซ์, การซ่อมแซมส่วนฮัยโปฟาริงซ์ทั้งหมด, แฟลบจากเยื่อบุและกล้ามเนื้อของลิ้น, แฟลบจากผิวหนังและกล้ามเนื้อของเพคทอรัลลิส เมเจอร์ที่ม้วนเป็นท่อ
พิชิต สิทธิไตรย์, เธียรไชย ภัทรสกุลชัย
จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2544; 84: 617-621
* ภาควิชา โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่ 50200