Correlation Between Serum Hyaluronan and Disease Activity and Severity in Thai Patients with Rheumatoid Arthritis
Worawit Louthrenoo, M.D.*, Prachya Kongtawelert, Ph.D.**,
Chate Sivasomboon, M.D.***, Waraporn Sukitawut, B.Sc.*
Abstract
Serum hyaluronan (HA) concentration was quantified using an ELISA-based assay with biotinylated hyaluronan binding proteins, and correlated with the clinical and laboratory variables in 100 consecutive rheumatoid arthritis (RA) patients (mean + SD age and duration of disease of 50.1 + 12.5 and 7.9 + 6.6 years respectively). Thirty-four patients received prednisonole at an average dose of 5.0 mg/day. The correlations were good between the serum HA level and the joint swollen scores (r = 0.26, p = 0.04), joint space narrowing scores (r = 0.25, p = 0.03), joint erosion scores (r = 0.26, p = 0.03), and erythrocyte sedimentation rate (r = 0.31, p < 0.01) in RA patients who did not take prednisolone. These correlations were diminished in those who received prednisolone, although their disease was more severe. It might be possible that corticosteroids could decrease inflammation of the joint, thus interfering with the correlations. It was concluded that the serum HA level is a useful marker for the activity and severity of disease in patients with RA.
Key word : Rheumatoid Arthritis, Disease Activity, Hyaluronan, Hyaluronic Acid
Louthrenoo w, Kongtawelert p,
Sivasomboon c, Sukitawut w
J Med Assoc Thai 2001; 84: 622-627
* Division of Rheumatology, Department of Medicine,
** Department of Biochemistry,
*** Division of Diagnositic Radiology, Department of Radiology, Faculty of Medicine, Chiang Mai University, Chiang Mai 50200, Thailand.
ความสัมพันธ์ระหว่างระดับซีรั่มฮัยอาลูโรแนนกับความรุนแรงของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ในคนไทย
วรวิทย์ เลาห์เรณู, พ.บ.*, ปรัชญา คงทวีเลิศ, ปร.ด.**,
เชษฐ์ ศิวะสมบูรณ์, พ.บ.***, วราพร สุขิตาวุธ, วท.บ.*
ได้ทำการวัดระดับซีรั่มฮัยอาลูโรแนน (HA) ด้วยวิธี ELISA-based assay with biotinylated binding protein และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับซีรั่ม HA กับลักษณะทางคลินิกและการความผิดปกติทางห้องปฏิบัติการในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จำนวน 100 ราย (ค่าเฉลี่ย + ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของอายุผู้ป่วยและระยะเวลาของโรค เท่ากับ 50.1 + 12.5 และ 7.9 + 6.6 ปี ตามลำดับ) ผู้ป่วย 34 รายได้รับยาเพรดนิโซโลนขนาดเฉลี่ย 5.0 มก./วัน ในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาเพรดนิโซโลนพบความสัมพันธ์ทางสถิติชัดเจนระหว่างระดับซีรั่ม HA กับคะแนนของข้อที่บวม (r = 0.26, p = 0.04) คะแนนการเปลี่ยนแปลงทางภาพรังสี คะแนนของช่องข้อที่แคบ (r = 0.25, p = 0.03) และคะแนนการกัดกร่อนของข้อ (r = 0.26, p = 0.03) และอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง (r = 0.31, p < 0.01) แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างระดับซีรั่ม HA กับข้ออักเสบหรือความผิดปกติทางภาพรังสีในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาเพรดนิโซโลนทั้งที่ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความรุนแรงของโรคและความผิดปกติทางภาพรังสีมากกว่า อาจเป็นไปได้ที่ยาเพรดนิโซโลนซึ่งมีคุณสมบัติในการลดการอักเสบและลดระดับซีรั่ม HA จึงทำให้ความสัมพันธ์นี้เสียไป ดังนั้นซีรั่ม HA สามารถใช้เป็นตัวชี้บ่งความรุนแรงและการอักเสบในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ดีในผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาคอร์ติโคสเตียรอยด์
คำสำคัญ : โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, ความรุนแรง, ฮัยอาลูโรแนน, กรดฮัยอาลูโรนิค
วรวิทย์ เลาห์เรณู, ปรัชญา คงทวีเลิศ, เชษฐ์ ศิวะสมบูรณ์, วราพร สุขิตาวุธ
จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2544; 84: 622-627
* หน่วยโรคข้อและรูมาติสซั่ม, ภาควิชาอายุรศาสตร์,
** ภาควิชาชีวเคมี,
*** หน่วยรังสีวินิจฉัย, ภาควิชารังสีวิทยา, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่ 50200