Humeral Head Ossification Center in Congenital Heart Disease
Sukanya Lohitkul, M.D.*, Suphaneewan Jaovisidha, M.D.*,
Kriangsak Thongchaiprasit, M.D.**, Pimjai Siriwongpairat, M.D.*
Abstract
The objective of this study was to evaluate the ossification (visualization) of proximal humeral ossification center (PHOC) which may indicate bone growth in infants with acyanotic and cyanotic congenital heart disease (HD) compared to normal infants. The medical records and chest radiographs within 3 months after birth of infants who were diagnosed as congenital HD by echocardiography or cardiac catheterization from 1989 to 1999 were reviewed. The PHOC was recorded from chest radiograph as presence or absence in every one-month interval since birth. In all cases, the corrected age of 0 month was defined as 40 weeks post conception. We used a study of 260 normal Korean infants as the normal population in this study. We found that from 67 cases enrolled in this study; 10 cases were excluded because of lack of complete medical records and sequential chest radiographs. In the remaining 57 cases, the average gestational age of the infants was 38.1 + 2.7 weeks and the average birth weight was 2860.5 + 597.7 grams. Female to male ratio was 1.28: 1. The infants were classified by gestational age as term (75.4%) and pre-term (24.6%). Types of congenital HD were diagnosed from echocardiogram (96.5%) and cardiac catheterization (3.5%) of cases; and were divided as acyanotic HD (64.9%) and cyanotic HD (35.1%). The ossification of PHOC in acyanotic full-term infants at 0, 1, 2, and 3 months was 24.0 per cent, 32.0 per cent, 72.0 per cent and 88.0 per cent; in cyanotic full-term infants it was 27.8 per cent, 33.3 per cent, 77.8 per cent, and 94.4 per cent ; and in acyanotic pre-term infants was 8.3 per cent, 8.3 per cent, 25.0 per cent, and 41.7 per cent, respectively. There were 2 cyanotic pre-term infants who did not show ossification of PHOC until 3 months. In full-term infants with both types of HD; the appearance of PHOC was significantly later than normal at 1 month corrected age (p = 0.000002) but not significant at 0, 2, and 3 months (p > 0.05); whereas, in pre-term infants with acyanotic HD, the appearance was later than normal at 1, 2, and 3 months (p = 0.02, p = 0.01, and p = 0.0002, respectively). We concluded that the ossification of PHOC is significantly later than normal in pre-term infants with congenital HD, but not significant in full-term infants with congenital HD.
Key word : Congenital Heart Disease, Epiphysis, Humerus
Lohitkul s, Jaovisidha s, Thongchaiprasit k, Siriwongpairat p
J Med Assoc Thai 2001; 84: 635-639
* Department of Radiology, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok 10400,
** Section of Pediatrics, Cardiology Unit, Chon Buri Hospital, Chon Buri 20000, Thailand.
การเกิดขึ้นของ ossification center ที่ส่วนบนของกระดูกต้นแขนในผู้ป่วยเด็กที่มีโรคหัวใจแต่กำเนิดเทียบกับเด็กปกติ
สุกัญญา โลหิตกุล, พ.บ.*, สุภนีวรรณ เชาว์วิศิษฐ, พ.บ.*,
เกรียงศักดิ์ ทองชัยประสิทธิ์, พ.บ.**, พิมใจ ศิริวงศ์ไพรัช, พ.บ.*
การเกิดขึ้นของ ossification center (OC) เป็นข้อบ่งชี้ภาวะการเติบโตของระบบโครงกระดูกซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะดูจากภาพถ่ายรังสีของมือ ในขณะเดียวกันเด็กที่มีโรคหัวใจแต่กำเนิดจะได้รับการถ่ายภาพรังสีปอดอยู่แล้วบ่อย ๆ และ OC ที่ส่วนบนของกระดูกต้นแขนเป็นสิ่งที่สามารถเห็นได้ จึงได้ศึกษาการเกิดขึ้นของ OC นี้ในเด็กที่มีโรคหัวใจแต่กำเนิดเปรียบเทียบกับเด็กปกติ เพื่อจะได้ใช้ติดตามภาวะการเติบโตของระบบโครงกระดูกโดยไม่ต้องถ่ายภาพรังสีของมือ ซึ่งจะทำให้เด็กต้องได้รับรังสีและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ได้ทำการศึกษาแบบย้อนหลังโดยการวิเคราะห์ภาพรังสีของปอดและทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วยเด็กที่มีโรคหัวใจแต่กำเนิดทั้งแบบที่มีและไม่มีอาการตัวเขียว และบันทึกการเกิดขึ้นของ OC นี้ว่ามีหรือไม่จากภาพถ่ายรังสีปอด โดยแบ่งภาพรังสีปอดที่มีอยู่ออกเป็น 4 ช่วงอายุคือ 0, 1, 2 และ 3 เดือน โดยกำหนดว่าอายุครรภ์ 40 สัปดาห์เท่ากับ 0 เดือน ผลการศึกษาพบว่าในจำนวนผู้ป่วย 57 รายที่มีภาพรังสีครบตามช่วงนั้น การเกิดขึ้นของ OC ในเด็กครบกำหนดที่มีโรคหัวใจแบบไม่เขียวที่อายุ 0, 1, 2, และ 3 เดือนเท่ากับ 24%, 32%, 72% และ 88%; ในเด็กครบกำหนดที่มีโรคหัวใจแบบตัวเขียวเท่ากับ 28%, 33%, 78% และ 94%; ในเด็กไม่ครบกำหนดที่มีโรคหัวใจแบบไม่เขียว เท่ากับ 8%, 8%, 25% และ 42% ส่วนเด็กไม่ครบกำหนดที่มีโรคหัวใจแบบตัวเขียวนั้นมีเพียง 2 รายซึ่งไม่พบการเกิดขึ้นของ OC นี้จนถึงอายุ 3 เดือน เมื่อนำผลการศึกษามาเปรียบเทียบกับข้อมูลของเด็กเอเชียปกติที่ตีพิมพ์ก่อนหน้าด้วยวิธีการเก็บข้อมูลในลักษณะเดียวกันพบว่า ในเด็กครบกำหนดที่มีโรคหัวใจทั้งแบบที่มีและไม่มีอาการตัวเขียว การเกิดขึ้นของ OC นี้ พบน้อยกว่าเด็กปกติที่อายุ 1 เดือน (p = 0.000002) แต่ไม่มีความแตกต่างกันที่อายุ 0, 2 และ 3 เดือน ในเด็กไม่ครบกำหนดที่มีโรคหัวใจแบบไม่เขียว การเกิดขึ้นของ OC นี้พบน้อยกว่าเด็กปกติที่อายุ 1, 2 และ 3 เดือน (p = 0.02, p = 0.01, p = 0.0002 ตามลำดับ) ส่วนข้อมูลของเด็กไม่ครบกำหนดที่มีโรคหัวใจแบบตัวเขียวนั้นเนื่องจากมีเป็นจำนวนน้อยจึงไม่ได้นำไปศึกษาเปรียบเทียบกับข้อมูลของเด็กปกติ
คำสำคัญ : โรคหัวใจแต่กำเนิด, กระดูกต้นแขน, Ossification Center
สุกัญญา โลหิตกุล, สุภนีวรรณ เชาว์วิศิษฐ,
เกรียงศักดิ์ ทองชัยประสิทธิ์, พิมใจ ศิริวงศ์ไพรัช
จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2544; 84: 635-639
* ภาควิชารังสีวิทยา, คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพ ฯ 10400
** กลุ่มงานกุมารเวชกรรม, หน่วยโรคหัวใจ, โรงพยาบาลศูนย์ชลบุรี, ชลบุรี 20000