Sonographic Findings in Clinically Diagnosed Threatened Abortion
Boonchai Uerpairojkit, M.D.*, Dhiraphongs Charoenvidhya, M.D.*,
Yuen Tannirandorn, M.D.*, Teera Wacharaprechanont, M.D.*,
Saknan Manotaya, M.D.*, Piyaratt Samritpradit, M.D.*,
Charintip Somprasit, M.D.*
Abstract
Objective : To determine the sonographic appearances in pregnant women who presented with vaginal bleeding in the first 20 weeks of gestation.
Method : Pregnant women of under 20 gestational weeks diagnosed clinically as threatened abortion were recruited for ultrasound scan at the Division of Maternal-Fetal Medicine, Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University. The sonographic findings were reported as viable pregnancy, anembryonic pregnancy, embryonic death, incomplete abortion, complete abortion, ectopic pregnancy, molar pregnancy and inconclusive findings. Patients with inconclusive findings were followed weekly until final diagnoses were established. All patients were followed-up to 20 weeks or until the final outcomes were revealed.
Results : Two hundred and sixty eight pregnant patients were enrolled. Ultrasound scans demonstrated 100 viable fetuses (37.3%), 73 embryonic deaths (27.3%), 46 anembryonic pregnancies (17.2%), 6 molar pregnancies (2.2%), 3 ectopic pregnancies (1.1%), 14 complete abortions (5.2%) and 26 inconclusive findings (9.7%). Follow-up scan on patients with inconclusive findings revealed 9 anembryonic pregnancies (3.3%), 9 incomplete abortions (3.3%), 1 embryonic death (0.4%) and 1 viable pregnancy (0.4%). Six patients (2.3%) were lost to follow-up. The viable pregnancy rate according to maternal age was highest at the maternal age of 25 to 29 years old (49%), whereas, it was lowest at the maternal age of 40 to 44 years old (0%). The viable pregnancy rate according to gestational age was highest at 6 to 8 weeks (61.2%), whereas, it was lowest at 18 to 20 weeks (20%).
Conclusion : Sonographic findings in patients with clinically diagnosed threatened abortion demonstrated viable pregnancies in around one-third of the cases. Use of ultrasound in clinically diagnosed threatened abortion may assist clinicians in establishing a definite diagnosis so that appropriate care could be offered to the patients.
Key word : Threatened Abortion, Ultrasound.
Uerpairojkit B, Charoenvidhya D, Tannirandorn Y, et al
J Med Assoc Thai 2001; 84: 661-665
* Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand.
ลักษณะทางคลื่นเสียงความถี่สูงในสตรีที่ได้รับการวินิจฉัยทางคลินิกเป็นภาวะแท้งคุกคาม
บุญชัย เอื้อไพโรจน์กิจ, พ.บ.*, ธีระพงศ์ เจริญวิทย์, พ.บ.*,
เยื้อน ตันนิรันดร, พ.บ.*, ธีระ วัชรปรีชานนท์, พ.บ.*,
ศักนัน มะโนทัย, พ.บ.*, ปิยะรัตน์ สัมฤทธิ์ประดิษฐ์, พ.บ.*,
รินทร์ทิพย์ สมประสิทธิ์, พ.บ.*
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาลักษณะทางคลื่นเสียงความถี่สูงในสตรีที่ได้รับการวินิจฉัยทางคลินิกเป็นภาวะแท้งคุกคาม ในอายุครรภ์ที่น้อยกว่า 20 สัปดาห์
วิธีการศึกษา : สตรีมีครรภ์ที่อายุครรภ์น้อยกว่า 20 สัปดาห์ ซึ่งได้รับการวินิจฉัยเป็นภาวะแท้งคุกคาม จะได้รับการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง ที่หน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยจะแบ่งลักษณะคลื่นเสียงความถี่สูงที่เห็นเป็นครรภ์ที่ตัวอ่อนมีชีวิต ครรภ์ที่ไม่มีตัวอ่อน ครรภ์ที่ตัวอ่อนเสียชีวิต ภาวะแท้งไม่ครบ ภาวะแท้งครบ ครรภ์นอกมดลูก ครรภ์ไข่ปลาอุก และผลไม่สรุป ในสตรีมีครรภ์ที่การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงได้ผลไม่สรุปจะได้รับการตรวจติดตามทุกสัปดาห์จนได้ผลสรุป สตรีมีครรภ์ทุกรายจะได้รับการติดตามจนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์หรือทราบผลการตั้งครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์
ผลการศึกษา : ได้ตรวจสตรีมีครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นภาวะแท้งคุกคาม 268 ราย พบครรภ์ที่ตัวอ่อนมีชีวิต 100 ราย (ร้อยละ 37.3) ครรภ์ที่ตัวอ่อนเสียชีวิต 73 ราย (ร้อยละ 27.3) ครรภ์ที่ไม่มีตัวอ่อน 46 ราย (ร้อยละ 17.2) ครรภ์ไข่ปลาอุก 6 ราย (ร้อยละ 2.2) ครรภ์นอกมดลูก 3 ราย (ร้อยละ 1.1) แท้งครบ 14 ราย (ร้อยละ 5.2) และได้ผลไม่สรุป 26 ราย (ร้อยละ 9.7) การตรวจติดตามในกลุ่มที่ได้ผลไม่สรุป พบเป็นครรภ์ที่ไม่มีตัวอ่อน 9 ราย (ร้อยละ 3.3) แท้งไม่ครบ 9 ราย (ร้อยละ 3.3) ครรภ์ที่ตัวอ่อนเสียชีวิต 1 ราย (ร้อยละ 0.4) และครรภ์ที่ตัวอ่อนมีชีวิต 1 ราย (ร้อยละ 0.4) สตรีมีครรภ์ 6 ราย (ร้อยละ 2.3) ไม่มาตรวจติดตาม ครรภ์ที่ตัวอ่อนมีชีวิตมีอัตราสูงสุดในสตรีที่อายุ 25-29 ปี (ร้อยละ 49) โดยครรภ์ที่ตัวอ่อนมีชีวิตมีอัตราต่ำสุด ในสตรีที่อายุ 40-44 ปี (ร้อยละ 0) ครรภ์ที่ตัวอ่อนมีชีวิตมีอัตราสูงที่สุดขณะอายุครรภ์ 6-8 สัปดาห์ (ร้อยละ 61.2) โดยจะต่ำสุดขณะอายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์ (ร้อยละ 20)
สรุป : การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงในสตรีมีครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยทางคลินิกเป็นภาวะแท้งคุกคาม พบเป็นครรภ์ที่ตัวอ่อนมีชีวิตเพียงประมาณหนึ่งในสาม การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในสตรีที่มีลักษณะทางคลินิกดังกล่าวอย่างเหมาะสม จะช่วยให้การวินิจฉัยที่แน่นอน ซึ่งช่วยให้แพทย์ให้การดูแลผู้ป่วยเหมาะสม
คำสำคัญ : ภาวะแท้งคุกคาม, คลื่นเสียงความถี่สูง
บุญชัย เอื้อไพโรจน์กิจ, ธีระพงศ์ เจริญวิทย์, เยื้อน ตันนิรันดร, และคณะ
จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2544; 84: 661-665
* ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพ ฯ 10330