Bacterial Infections in Hospitalized Patients in Thailand in 1997 and 2000

0
Rate this post

Bacterial Infections in Hospitalized Patients in Thailand in 1997 and 2000

Visanu Thamlikitkul, M.D.*,      Duangporn Jintanothaitavorn, m.a.**,

Rachada SathitmEthakul, M.Sc.**,   Sribenja Vaithayaphichet, r.n.**,

Suwanna Trakulsomboon, Ph.D.*,    Somwang Danchaivijitr, m.d.*

Abstract

                Two surveys to determine the patterns of bacterial infections and trends in resistance to antibiotics of bacteria causing infections in patients admitted to hospitals in Thailand were conducted in 36 and 37 hospitals throughout Thailand in June 1997 and February 2000. Approximately 50 per cent of infections in hospitalized patients in Thailand were hospital-acquired infections. Urinary tract and lower respiratory tract were the most common sites of infections. Eighty per cent of infections were caused by gram negative bacteria. Gram negative bacteria causing infections in 2000 were more resistant to most commonly used antibiotics when compared with those in 1997. The prevalence of gram positive bacteria causing hospital-acquired infections significantly increased during this period. The trend of increase in resistance in most gram positive bacteria in 2000 was not clearly observed.

Key word : Bacterial Infections, Hospitalized Patients

Thamlikitkul V, Jintanothaitavorn D, Sathitmethakul R,  

Vaithayaphichet S, Trakulsomboon S, Danchaivijitr S

J Med Assoc Thai 2001; 84: 666-673

 *             Department of Medicine,

**             Center for Nosocomial Infection Control, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok 10700, Thailand.

การติดเชื้อแบคทีเรียในผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลในประเทศไทย พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2543

วิษณุ ธรรมลิขิตกุล, พ.บ.*, ดวงพร จินตโนทัยถาวร, สค.ม.**,

รัชดา สถิตย์เมธากุล, วท.ม.**, ศรีเบญจา ไวทยพิเชษฐ์, ค.บ.**,

สุวรรณา ตระกูลสมบูรณ์, ปร.ด.*, สมหวัง ด่านชัยวิจิตร, พ.บ.*

                คณะผู้วิจัยได้ศึกษาผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรียและผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียขณะที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลในโรงพยาบาลจำนวน 36 แห่งในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 และจำนวน 37 แห่งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 โดยสำรวจความชุกของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อและความชุกของการดื้อต่อยาต้านจุลชีพของแบคทีเรียดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่าประมาณร้อยละ 50 ของการติดเชื้อแบคทีเรียจำนวน 8,164 ครั้งใน พ.ศ. 2540 และ 6,725 ครั้งใน พ.ศ. 2543 เป็นการติดเชื้อที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล ตำแหน่งที่มีการติดเชื้อได้บ่อยคือระบบปัสสาวะและระบบการหายใจช่วงล่าง ประมาณร้อยละ 80 ของการติดเชื้อเกิดจากเชื้อแบคทีเรียกรัมลบ การติดเชื้อในโรงพยาบาลมีแนวโน้มว่าจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรียกรัมบวกมากขึ้น เชื้อแบคทีเรียกรัมลบที่พบใน พ.ศ. 2543 มีแนวโน้มดื้อต่อยาต้านจุลชีพขนานที่ใช้บ่อยมากกว่าเชื้อแบคทีเรียกรัมลบที่พบใน พ.ศ. 2540 ส่วนความไวต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อแบคทีเรียกรัมบวกที่พบใน พ.ศ. 2540 และ 2543 ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

คำสำคัญ : การติดเชื้อแบคทีเรีย, ผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาล

วิษณุ ธรรมลิขิตกุล, ดวงพร จินตโนทัยถาวร, รัชดา สถิตย์เมธากุล,

ศรีเบญจา ไวทยพิเชษฐ์, สุวรรณา ตระกูลสมบูรณ์, สมหวัง ด่านชัยวิจิตร

จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2544; 84: 666-673

 * ภาควิชาอายุรศาสตร์,

** งานควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพ ฯ 10700