Thromboembolic Complications in Thai Pediatric Patients

0
Rate this post

Thromboembolic Complications in Thai Pediatric Patients

Ampaiwan Chuansumrit, M.D.*,           Surang Chiemchanya, M.D.*,

Pongsak Khowsathit, M.D.*,                Satit Hotrakitya, M.D.*,

Amornsri Chunharas, M.D.*,   Phongjan Hathirat, M.D.*

Abstract

                Sixty patients with thromboembolic complications from 1987 to 1997 at the Department of Pediatrics, Ramathibodi Hospital were retrospectively studied. Twenty patients were infants and 40 patients were children and adolescents with a mean age of 18 days and 8 years, respectively. The sites of thromboembolic complications were in the central nervous system, 27.5 per cent; skin as purpura fulminans or necrotic lesions, 24.5 per cent; gangrene of the toe, finger or colon, 19 per cent; deep vein thrombosis, 16 per cent; and other sites such as heart and lungs, 13 per cent. Most of them had triggering conditions (80%) and underlying diseases (76.7%) causing thromboembolism. The low levels of either antithrombin III, protein C or protein S were found in 42 per cent (15/36). The management included administration of standard or low molecular weight heparin if not contraindicated, replacement of fresh frozen plasma 10 ml/kg twice a day and treatment of underlying and triggering conditions. The fatality rate was 15 per cent (9/60). Subsequent episodes of thromboembolism occurred in 6 patients including : pulmonary emboli in one patient with protein C deficiency who refused warfarin administration, deep vein thrombosis in 2 patients with unidentified etiology, and necrotic skin lesions in 3 patients with vasculitis who did not respond to treatment.

                In conclusion, a comprehensive investigation and specific treatment for patients with thromboembolic complications are emphasized in order to prevent recurring episodes.

Key word : Thromboembolism, DIC

Chuansumrit A, Chiemchanya S, Khowsathit P,

Hotrakitya s, Chunharas A, Hathirat P

J Med Assoc Thai 2001; 84: 681-687

* Department of Pediatrics, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok 10400, Thailand.

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดทั่วไปของผู้ป่วยเด็กไทย

อำไพวรรณ จวนสัมฤทธิ์, พ.บ.*, สุรางค์ เจียมจรรยา, พ.บ.*, พงษ์ศักดิ์ โค้วสถิตย์, พ.บ.*,

สาธิต โหตรกิตติ์, พ.บ.*, อมรศรี ชุณหรัศมิ์, พ.บ.*, พงษ์จันทร์ หัตถีรัตน์, พ.บ.*

                รายงานภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดของผู้ป่วยเด็กจำนวน 60 รายที่ได้รับการรักษาที่ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ระหว่างพ.ศ. 2530 ถึง 2540 20 รายเป็นทารกที่มีอายุเฉลี่ย 18 วัน และ 40 รายเป็นเด็กและวัยรุ่นที่มีอายุเฉลี่ย 8 ปี ตำแหน่งที่มีการอุดตันได้แก่ ระบบประสาทร้อยละ 27.5, ผิวหนังร้อยละ 24.5, gangrene ปลายนิ้วมือนิ้วเท้าและลำไส้ร้อยละ 19, deep vein thrombosis ร้อยละ 16 และตำแหน่งอื่น ๆ อีกร้อยละ 13 ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีตัวไกกระตุ้นการแข็งตัวของเลือดร้อยละ 80 และร้อยละ 76 มีสาเหตุของโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย ได้วัดระดับสารต้านการแข็งตัวของเลือดได้แก่ antithrombin III, protein C และ protein S ในผู้ป่วย 36 รายพบว่ามีระดับต่ำ 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 42 ได้ให้การรักษาด้วย standard หรือ low molecular weight heparin ถ้าไม่มีข้อห้ามเฉพาะ fresh frozen plasma 10 มล./กก. วันละ 2 ครั้ง ร่วมกับการรักษาโรคที่เป็นอยู่และขจัดตัวไกกระตุ้น อัตราตายร้อยละ 15 (9/60) และผู้ป่วย 6 รายเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันซ้ำ ได้แก่ pulmonary embolism ในผู้ป่วยหนึ่งรายที่มีภาวะพร่อง protein C และปฏิเสธการรักษาด้วยยา warfarin, deep vein thrombosis ในผู้ป่วย 2 รายที่ไม่ทราบสาเหตุของภาวะลิ่มเลือดอุดตัน และ necrotic skin lesion ในผู้ป่วย 3 รายที่เป็นโรค vasculitis ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา

                ดังนั้น การสืบค้นหาสาเหตุของภาวะลิ่มเลือดอุดตัน และการรักษาที่จำเพาะจะช่วยลดโอกาสเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันซ้ำ

คำสำคัญ : ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดทั่วไป, ผู้ป่วยเด็กไทย

อำไพวรรณ จวนสัมฤทธิ์, สุรางค์ เจียมจรรยา, พงษ์ศักดิ์ โค้วสถิตย์, สาธิต โหตรกิตติ์,

อมรศรี ชุณหรัศมิ์, พงษ์จันทร์ หัตถีรัตน์

จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2544; 84: 681-687

* ภาควิชากุมารเวชศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพ ฯ 10400