Transthoracic Aspiration Cytology for the Diagnosis of Thoracic Infection +

0
Rate this post

Transthoracic Aspiration Cytology for the Diagnosis of Thoracic Infection +

Anucha Tangthangtham, M.D.*,

Ponglada Subhannachart, M.D.**,

Sutarat Tungsagunwattana, M.D.**

Abstract

                The article describes the use and results of transthoracic aspiration cytology for diagnosis of thoracic infection in a Thai referral chest center. We reviewed 60 cytologic samples, initially diagnosed as thoracic infection or inflammation among a total of 532 percutaneous transthoracic needle aspirations obtained from patients with clinical suspicion of malignancy in a period of 6 years. Follow-up clinical data were collected and correlated with cytologic diagnosis. We found specific microorganisms in 8 samples (13.33%). These included 4 cases of actinomycosis, 3 cases of cryptococcosis and a case of aspergillosis. Granulomatous inflammation was found in 12 samples (20.00%). Among these patients, 10 cases were verified as having tuberculosis. The remaining 40 samples (66.67%) revealed acute inflammatory exudate with no specific microorganism. Follow-up clinical data confirmed or assumed infection in 27 cases. Therefore, in patients with thoracic infection who presented with clinical suspicion of malignancy, from our experience, aspiration cytology revealed adequate morphology for accurate diagnosis which resulted in prompt specific treatment and better prognosis.

Key word : Aspiration Cytology, Thoracic Infection, Transthoracic Aspiration

Tangthangtham A, Subhannachart P, Tungsagunwattana S

J Med Assoc Thai 2001; 84: 688-692

 *             Division of Pathology, Faculty of Medicine, Thammasat University, Patumtani 12120,

**             Department of Radiology, Central Chest Hospital, Nontaburi 11000, Thailand.

+              Presented at the 11th National Congress of Pathology, Songkhla, March 17, 1999.

การตรวจเซลล์จากการเจาะดูดผ่านผนังทรวงอกเพื่อวินิจฉัยภาวะติดเชื้อของทรวงอก +

อนุชา ตั้งทางธรรม, พ.บ.*,

พงษ์ลดา สุพรรณชาติ, พ.บ.**, สุฑารัตน์ ตั้งสกุลวัฒนา, พ.บ.**

                คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาตัวอย่างทางเซลล์วิทยาจำนวน 60 ตัวอย่าง ที่แสดงลักษณะการติดเชื้อ หรือการอักเสบของทรวงอก จากตัวอย่างทั้งหมด 532 ตัวอย่างซึ่งเก็บจากผู้ป่วยที่มีลักษณะทางคลินิกเข้าได้กับเนื้องอกของทรวงอก โดยวิธีใช้เข็มขนาดเล็กเจาะผ่านผนังทรวงอก ในช่วงระยะเวลา 6 ปี และติดตามข้อมูลทางคลินิกของผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับการวินิจฉัยทางเซลล์วิทยา จากการตรวจตัวอย่างทางเซลล์วิทยาทั้งหมดพบ specific microorganism จำนวน 8 ตัวอย่าง (13.33%) คือ actinomycosis จากผู้ป่วย 4 ราย cryptococcosis จากผู้ป่วย 3 ราย และ aspergillosis จากผู้ป่วย 1 ราย ตรวจพบลักษณะ granulomatous inflammation 12 ตัวอย่าง (20.00%) พบว่าเป็นตัวอย่างที่เก็บจากผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคของทรวงอกจำนวน 10 ราย ส่วนอีก 40 ตัวอย่าง (66.67%) พบลักษณะทางเซลล์วิทยาเป็นแบบ acute inflammatory exudate จากการติดตามข้อมูลทางคลินิก พบว่าผู้ป่วยในกลุ่มนี้มีการติดเชื้อหรือการอักเสบของทรวงอก จำนวน 27 ราย การตรวจด้วยวิธีเซลล์วิทยาของการเจาะดูด ในผู้ป่วยที่มีลักษณะทางคลินิกเข้าได้ กับเนื้องอกของทรวงอก ช่วยให้เราทราบว่า รอยโรคในผู้ป่วยบางราย มีสาเหตุจากการติดเชื้อ ซึ่งเป็นกลุ่มโรคที่ใช้วิธีการรักษาที่แตกต่าง และมีการพยากรณ์โรคที่ดีกว่าเนื้องอกของทรวงอก

คำสำคัญ : เซลล์วิทยาจากการเจาะดูด, การติดเชื้อของทรวงอก

อนุชา ตั้งทางธรรม, พงษ์ลดา สุพรรณชาติ, สุฑารัตน์ ตั้งสกุลวัฒนา

จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2544; 84: 688-692

 *             สาขาวิชาพยาธิวิทยา, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี 12120

**             กลุ่มงานรังสีวิทยา, โรงพยาบาลโรคทรวงอก, นนทบุรี 11000

+              เสนอในการประชุมวิชาการพยาธิวิทยาแห่งชาติครั้งที่ 11, สงขลา วันที่ 17 มีนาคม 2542