Vaginal Vault Granulations After Total Abdominal Hysterectomy Using Polyglactin for Vault Closure

0
Rate this post

Vaginal Vault Granulations After Total Abdominal Hysterectomy Using Polyglactin for Vault Closure

Yuen Tannirandorn, M.D.*,

Kitti Tuchinda, M.D.*

Abstract

                The purpose of this study was to determine the incidence of vaginal vault granulation after total abdominal hysterectomy using polyglactin (Vicryl) for vault closure. Fifty women who underwent total abdominal hysterectomy for benign and elective conditions were included into the study. Standard surgical technique of total abdominal hysterectomy was employed except for closure of the vaginal vault performed by interrupted figure-of-eight sutures using No. 1 polyglactin. All patients were prospectively followed-up at approximately 6 weeks postoperatively and vaginal vault granulation was diagnosed as present or absent. It was found that 5 patients had vaginal vault granulation without any symptoms, giving the incidence of 10 per cent. One patient who developed vault granulation had postoperative morbidity from cuff cellulitis. The remaining 49 patients had no immediate postoperative complications.

Key word : Vault Granulation, Vault Closure, Hysterectomy

Tannirandorn Y & Tuchinda K

J Med Assoc Thai 2001; 84; 693-696

* Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand.

แกรนูเลชันยอดช่องคลอดภายหลังการผ่าตัดมดลูกออกทั้งหมดผ่านทางหน้าท้องจากการเย็บปิดช่องคลอดด้วยโพลิแกล็กทิน

เยื้อน ตันนิรันดร, พ.บ.*, กิตติ ตู้จินดา, พ.บ.*

                วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อหาอุบัติการณ์ของแกรนูเลชันยอดช่องคลอดภายหลังการผ่าตัดมดลูกออกทั้งหมดผ่านทางหน้าท้อง จากการเย็บปิดช่องคลอดด้วยโพลิแกล็กทิน รายงานนี้ได้ทำการศึกษาผู้ป่วย 50 ราย ที่ได้รับการผ่าตัดมดลูกออกทั้งหมดผ่านทางหน้าท้อง โดยมีข้อบ่งชี้ทางนรีเวชวิทยา ที่ไม่ใช่มะเร็งหรือโรคติดเชื้อ เทคนิคการทำผ่าตัดเป็นเทคนิคมาตรฐาน ยกเว้นการเย็บปิดช่องคลอดจะทำการเย็บปิดโดยใช้โพลิแกล็กทินเย็บเป็นรูปเลขแปดเป็นคำ ๆ โดยได้ทำการตรวจติดตามผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดประมาณ 6 สัปดาห์และทำการตรวจหาว่ามีแกรนูเลชันบริเวณยอดช่องคลอดหรือไม่ จากการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วย 5 ราย ที่พบมีแกรนูเลชันยอดช่องคลอดโดยที่ไม่มีอาการ คิดเป็นอุบัติการณ์เท่ากับร้อยละ 10 มีผู้ป่วย 1 รายที่ตรวจพบมีการอักเสบติดเชื้อของยอดช่องคลอดภายหลังการผ่าตัดและต่อมาตรวจพบมีแกรนูเลชันยอดช่องคลอด ผู้ป่วยที่เหลือ 49 รายไม่พบมีภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัด

คำสำคัญ : แกรนูเลชันยอดช่องคลอด, การเย็บปิดยอดช่องคลอด, การผ่าตัดมดลูก

เยื้อน ตันนิรันดร, กิตติ ตู้จินดา

จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2544; 84: 693-696

* ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพ ฯ 10330