Anesthesia and Laparoscopic Adrenalectomy for Primary Aldosteronism

0
Rate this post

Anesthesia and Laparoscopic Adrenalectomy for Primary Aldosteronism

Narong Lertakyamanee, M.D., F.R.C.S. (Glas), M.P.H.*,    

Jariya Lertakyamanee, M.D., F.R.C.A., M.P.H.**,

Pradit Somprakit, M.D., F.R.C.A., M.Sc.**,     

Thanyadej Nimmanwudipong, M.D., F.R.C.S.T.*,

Peera Buranakijaroen, M.D.***,        

Sutin Sriussadaporn, M.D.***

Abstract

                Adrenalectomy is the curative treatment of primary aldosteronism or Conn’s syndrome. Laparoscopic adrenalectomy, a new method, should result in less pain and shorter hospitalization. We reported 25 patients who received anesthesia and laparoscopic adrenalectomy from 1995-1999. There were 17 females and 8 males. The mean age was 41.9 years (range 25-59). Ninety-six per cent had hypertension, 76 per cent had weakness of the extremities. When these patients sought medical care, their serum potassium and bicarbonate were 2.4 and 30.9 mEq/l respectively. Before operation, after treatment with spinorolactone, they were 4.3 and 24.4 mEq/l respectively. Associated diseases and cardiovascular abnormalities were reported. General anesthesia was the anesthetic technique of choice. Laparoscopic adrenalectomy was described in detail. Sixteen patients had adenomas on the left adrenal gland, 9 were on the right. Twenty-four patients had unilateral adrenalectomy, one had enucleation of the tumor. The size of the adenoma was 1.8 cm (range 1-3). There was no morbidity or mortality. All patients were discharged on the third postoperative day.

Key word : Laparoscopic Adrenalectomy, Primary Aldosteronism

Lertakyamanee n, Lertakyamanee j, Somprakit p

Nimmanwudipong t, Buranakijaroen p, Sriussadaporn s

J Med Assoc Thai 2001; 84: 798-803

 *             Department of Surgery,

 **            Department of Anesthesiology,

***           Department of Medicine, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok 10700, Thailand.

การระงับความรู้สึกและการผ่าตัดต่อมหมวกไตโดยใช้กล้องสำหรับผู้ป่วย Primary aldosteronism

ณรงค์ เลิศอรรฆยมณี, พ.บ., F.R.C.S., M.P.H.*,

จริยา เลิศอรรฆยมณี, พ.บ., F.R.C.A., M.P.H.**,

ประดิษฐ์ สมประกิจ, พ.บ., F.R.C.A., M.Sc.**,

ธัญเดช นิมมานวุฒิพงศ์, พ.บ., F.R.C.S.T.*,

พีระ บูรณกิจเจริญ, พ.บ., ว.ว. (อายุร)***,

สุทิน ศรีอัษฎาพร, พ.บ., ว.ว. (อายุร)***

                การตัดต่อมหมวกไตเป็นการผ่าตัดรักษาโรค Primary aldosteronism หรือ Conn’s syndrome การตัดต่อมหมวกไตโดยการส่องกล้อง (Laparoscopic adrenalectomy) เป็นวิธีใหม่ที่น่าจะช่วยลดความปวดและระยะเวลาอยู่ในโรงพยาบาล ผู้รายงานได้ทำการศึกษาผู้ป่วยที่มารับการระงับความรู้สึกและผ่าตัด Laparoscopic adrenalectomy จำนวน 25 รายในภาควิชาวิสัญญีวิทยาและศัลยศาสตร์ในระหว่างปี 2538-2542 เป็นผู้หญิง 17 รายและผู้ชาย 8 ราย อายุเฉลี่ย 41.9 ปี (ช่วง 25-59 ปี) ผู้ป่วยร้อยละ 96 มีความดันเลือดสูง ร้อยละ 96 มีแขนขาอ่อนแรง เมื่อแรกรับผู้ป่วยมีระดับโปแตสเซียม และไบคารบอนเนตในเลือด 2.4 และ 30.9 mEq/l ตามลำดับ หลังจากได้รับการรักษาด้วยยา aldactone แล้ว ระดับโปแตสเซียมและไบคารบอนเนตในเลือดก่อนผ่าตัดเป็น 4.3 และ 24.4 mEq/l ตามลำดับ ได้รายงานโรคอี่น ๆ และความผิดปกติทางระบบหัวใจและหลอดเลือด การระงับความรู้สึกแบบทั้งตัว (General anesthesia) เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด และรายงานขั้นตอนการผ่าตัดโดยการส่องกล้องอย่างละเอียด ผู้ป่วย 16 รายมีก้อนเนื้องอกที่ต่อมหมวกไตข้างซ้าย และ 9 รายมีก้อนเนื้องอกที่ต่อมหมวกไตข้างขวา ผู้ป่วย 24 รายได้รับการตัดต่อมหมวกไตออกหนึ่งข้าง ส่วนอีก 1 รายเป็นการเลาะก้อนเนื้องอกออก ขนาดเฉลี่ยของก้อนเนื้องอก 1.8 ซม. (ช่วง 1-3 ซม.) ไม่พบว่ามีอาการแทรกซ้อนหรือการเสียชีวิต ผู้ป่วยทุกรายกลับบ้านได้ในวันที่ 3 หลังผ่าตัด

คำสำคัญ : การผ่าตัดต่อมหมวกไตโดยใช้กล้อง, Primary aldosteronism

ณรงค์ เลิศอรรฆยมณี, จริยา เลิศอรรฆยมณี, ประดิษฐ์ สมประกิจ,

ธัญเดช นิมมานวุฒิพงศ์, พีระ บูรณกิจเจริญ, สุทิน ศรีอัษฎาพร

จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2544; 84: 798-803

 *             ภาควิชาศัลยศาสตร์,

 **            ภาควิชาวิสัญญีวิทยา,

***           ภาควิชาอายุรศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพ ฯ 10700