Mandibular Distraction Osteogenesis in Unilateral Craniofacial Microsomia : Preliminary Report +
Charan Mahatumarat, M.D.*,
Prayuth Chokrungvaranont, M.D.*,
Nond Rojvachiranonda, M.D.*
Abstract
At present, Ilizarov’s distraction principle becomes applicable in craniofacial surgery. We would like to present a report of mandibular lengthening by distraction osteogenesis that has been performed in 4 Thai children with unilateral craniofacial microsomia in King Chulalongkorn Memorial hospital from 1996 to 1997. The distraction process was composed of latency, distraction, and consolidation phases. After the latency period, the distraction was performed by a patientีs family member at home at the rate of 1 millimeter per day. Facial asymmetry and malocclusion were improved in all cases after the process was completed. No complication was experienced. No relapse or complication was detected after a mean follow-up period of 99.5 weeks. However, more cases and longer follow-up are needed before any conclusion can be made.
Key word : Mandibular Lengthening, Distraction, Osteogenesis, Ilizarov, Hemifacial, Craniofacial Microsomia
Mahatumarat C,
Chokrungvaranont P, Rojvachiranonda N
J Med Assoc Thai 2001; 84: 811-820
* Plastic and Reconstructive Surgery Unit, Department of Surgery, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand.
+ Presented at the 7th Asian-Pacific congress of International Confederation for Plastic Reconstructive and Aesthetic Surgery, Phuket, Thailand. April 3-6, 1997.
การเพิ่มความยาวกระดูกขากรรไกรล่าง โดยวิธียืดกระดูกในผู้ป่วยโรค Unilateral Craniofacial Microsomia
จรัญ มหาทุมะรัตน์, พ.บ.*,
ประยุทธ โชครุ่งวรานนท์, พ.บ.*, นนท์ โรจน์วชิรนนท์, พ.บ.*
ในปัจจุบันการเพิ่มความยาวกระดูกด้วยการตัดแล้วยืดกระดูกโดยใช้หลักของอิลิซารอฟ (Ilizarov’s distraction principle) เริ่มมีการนำมาประยุกต์ใช้ในการรักษาความพิการของกะโหลกศีรษะและใบหน้า รายงานนี้นำเสนอผลของการยืดกระดูกกรามล่าง โดยใช้วิธีการยืดกระดูกตามหลักของอิลิซารอฟ ในผู้ป่วยเด็กไทย 4 รายที่เป็นโรค Unilateral Craniofacial Microsomia ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539-2540 กระบวนการยืดกระดูกประกอบไปด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ คือ การตัดกระดูก (osteotomy) แล้วใส่อุปกรณ์ยืดกระดูกโดยที่ยังไม่ยืดกระดูก ขั้นตอนนี้เรียกว่า latency phase ขั้นตอนต่อไปก็ทำการยืดกระดูกจนได้ความยาวตามต้องการ เรียกว่า distraction phase หลังจากนั้นรอให้มีการสร้างกระดูกใหม่เกิด ขึ้นสักระยะหนึ่งก่อนที่จะทำการเอาอุปกรณ์ยืดกระดูกออก เรียกว่า consolidation phase หลังจากผ่านระยะ latency phase แล้วการยืดกระดูกกระทำโดยบุคคลในครอบครัวผู้ป่วยเองที่บ้าน โดยหมุนเครื่องมือให้ยืดกระดูกให้ยาวขึ้นวันละ 1 มิลลิเมตร หลังจากเสร็จสิ้นทุกขั้นตอนแล้วพบว่าใบหน้าที่ไม่สมดุล และการสบฟันที่ผิดปกติมีลักษณะดีขึ้นในผู้ป่วยทุกราย โดยไม่พบภาวะแทรกซ้อน ไม่พบการกลับเป็นซ้ำ หรือภาวะแทรกซ้อน จากการติดตามผู้ป่วยต่อไปเป็นเวลาเฉลี่ย 99.5 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามควรต้องศึกษาต่อไปในผู้ป่วยจำนวนมากขึ้นและติดตามผลการรักษาให้นานขึ้นก่อนที่จะสรุปผลการรักษาใด ๆ
คำสำคัญ : ขากรรไกรล่าง, ยืดกระดูก, Distraction, Craniofacial, Microsomia
จรัญ มหาทุมะรัตน์, ประยุทธ โชครุ่งวรานนท์, นนท์ โรจน์วชิรนนท์
จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2544; 84: 811-820
* หน่วยศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้าง, ภาควิชาศัลยศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพ ฯ 10330