Adverse Cutaneous Reactions to Phenobarbital in Epileptic Children

0
Rate this post

Adverse Cutaneous Reactions to Phenobarbital in Epileptic Children

Anannit Visudtibhan, M.D.*,                 Pongsakdi Visudhiphan, M.D.*,

Surang Chiemchanya, M.D.*,    Manas Soongprasit, M.D.*

Abstract

                Introduction : Cutaneous adverse reaction to phenobarbital is not uncommon. According to previous studies, around 3 per cent of children taking phenobarbital have reactions. However, there has been no report in Thai children.

                Objective : To study adverse cutaneous reactions to phenobarbital in children with epilepsy.

                Patients and Method : A retrospective study from medical records of epileptic children aged under 15 years diagnosed at the Department of Pediatrics, Ramathibodi Hospital, Bangkok, Thailand from January 1989 to December 1993 was done. Adverse cutaneous reactions were categorized into 3 groups according to severity. Duration from the initiation of phenobarbital to the onset of reactions and the clinical course were collected for analysis.

                Result : There were 18 children from the total of 572-retrievable medical records of children with epilepsy who had adverse cutaneous reactions. The prevalence was 3.2%. There were 5, 10 and 3 patients categorized into mild-form, moderate-form, and severe form respectively. All except one patient had the onset of cuteneous reactions within 3 weeks. No morbidity or mortality was observed in these patients. Recovery of the cutaneous reactions was obtained between 5 and 14 days in those with mild or moderate form.

                Conclusion : Adverse cutaneous reactions to phenobarbital observed in Thai epileptic children were similar to those found in previous reports. Physicians who prescribe phenobarbital must be aware of the serious adverse reactions which might occur. Early recognition of the adverse reactions and prompt intervention including discontinuation of the drug must be exercised to prevent any serious complications.

Key word : Phenobarbital, Adverse Cutaneous Reactions, Children

Visudtibhan A, Visudhiphan P, Chiemchanya S, Soongprasit M

J Med Assoc Thai 2001; 84: 831-836

*              Division of Pediatric Neurology, Department of Pediatrics, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University, Bangkok 10400, Thailand.

ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ทางผิวหนังจากยากันชัก ฟีโนบาร์บิตัล ในผู้ป่วยเด็กโรคลมชัก

อนันต์นิตย์ วิสุทธิพันธ์, พ.บ.*, พงษ์ศักดิ์ วิสุทธิพันธ์, พ.บ.*,

สุรางค์ เจียมจรรยา, พ.บ.*, มนัส สูงประสิทธิ์, พ.บ.*

                ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ที่แสดงออกทางผิวหนัง เกิดกับการใช้ยากันชักได้หลายชนิด คณะผู้รายงานได้ทำการศึกษาแบบย้อนหลังถึงปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ที่แสดงออกทางผิวหนังในผู้ป่วยเด็กโรคลมชักอายุต่ำกว่า 15 ปี ที่ได้รับยากันชักชนิด phenobarbital ที่ได้รับการรักษาที่ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ในระหว่างเดือนมกราคม 2532 ถึงเดือนธันวาคม 2536 พบว่าในจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 572 คน ที่เป็นโรคลมชักและได้รับยาชนิดนี้ มีปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ที่แสดงออกทางผิวหนังจำนวน 18 คน คิดเป็นอุบัติการณ์ 3.2% โดยจำแนกความรุนแรงออกเป็น 3 กลุ่มอาการ คือ กลุ่มที่มีอาการน้อยโดยที่ไม่มีความผิดปกติของระบบอื่น จำนวน 5 คน กลุ่มที่มีอาการปานกลางคือมีอาการผิดปกติของระบบอื่นร่วม 10 คน และกลุ่มที่มีความรุนแรงมากที่สุดซึ่งเข้าได้กับกลุ่มอาการ Stevens-Johnson จำนวน 3 คน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (17 ใน 18 คน) จะแสดงอาการไม่พึงประสงค์นี้ภายใน 3 สัปดาห์แรกหลังจากที่ได้รับยาแล้ว ในการศึกษานี้ไม่พบความผิดปกติหลงเหลืออยู่หรือผลแทรกซ้อนใด ๆ คณะผู้รายงานได้เน้นถึงความจำเป็นที่แพทย์จะต้องมีความรู้ความสามารถในการวินิจฉัยปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ที่แสดงออกทางผิวหนังจากการใช้ยากันชัก ทั้งนี้การหยุดยาที่ใช้ร่วมกับการรักษาแบบประคับประคองที่เหมาะสมจะสามารถช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้

คำสำคัญ : ฟีโนบาร์บิตัล, ปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ที่ผิวหนัง, โรคลมชักในเด็ก

อนันต์นิตย์ วิสุทธิพันธ์, พงษ์ศักดิ์ วิสุทธิพันธ์, สุรางค์ เจียมจรรยา, มนัส สูงประสิทธิ์

จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2544; 84: 831-836

* ภาควิชากุมารเวชศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพ ฯ 10400