Surgical Treatment for Congenital Duodenal Obstruction

0
Rate this post

Surgical Treatment for Congenital Duodenal Obstruction

Ravit Ruangtrakool, M.D.*,                 Mongkol Laohapensang, M.D.*,

Akkrapol Mungnirandr, M.D.*,           Chana Sathornkich, M.D.*

Abstract

                Thirty-four congenital duodenal obstructions (19 duodenal atresia, 7 duodenal web, 7 annular pancreas and one duodenal stenosis) were surgically treated in Siriraj Hospital between 1990 and 1999. Eleven per cent of duodenal atresia had no bile-stained vomiting. Duodenal web which received web excision and duodenoplasty in 43 per cent of cases, also presented with bile-stained vomiting. Duodeno-duodenostomy, duodeno-jejunostomy and web excision with duodenoplasty were performed in 29, 2 and 3 patients respectively. Duodeno-duodenostomy and web excision with duodenoplasty had no difference in the feeding capability. There was no statistically significant difference in duration of TPN, ability to be early fed, post-operative onset of full feeding and hospital stay between diamond-shaped (n = 18) and side-to-side (n = 11) duodeno-duodenostomy. Although transanastomotic feeding tube (n = 4) decreased a percentage of TPN requirement and made early feeding possible, the onset of full feeding, duration of TPN and hospital stay were not different from those who had no transanastomotic tube (n = 30).

Key word :        Duodenal Obstruction, Duodenal Atresia, Pancreas, Suture Techniques, Anastomosis, Postoperative Complications, Treatment Outcome, Child, Infant, Newborn

Ruangtrakool R, Laohapensang M, Mungnirandr A, Sathornkich C

J Med Assoc Thai 2001; 84: 842-849

*              Division of Paediatric Surgery, Department of Surgery, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok 10700, Thailand.

การผ่าตัดรักษาโรคลำไส้ส่วนดูโอดีนัมตีบตันแต่กำเนิด

รวิศ เรืองตระกูล, พ.บ.*, มงคล เลาหเพ็ญแสง, พ.บ.*,

อัครพล มุ่งนิรันดร์, พ.บ.*, ชนา สาทรกิจ, พ.บ.*

                ผู้ป่วยโรคลำไส้ส่วนดูโอดีนัมตีบตันแต่กำเนิด 34 รายได้รับการผ่าตัดรักษา ณ โรงพยาบาลศิริราชระหว่างปี พ.ศ. 2533 ถึงปี พ.ศ. 2542 โดยในจำนวนนี้เป็นโรคลำไส้ส่วนดูโอดีนัมอุดตันสมบูรณ์ 19 ราย, โรคเยื่อกั้นลำไส้ส่วนดูโอดีนัม 7 ราย, การหมุนตัวผิดปกติของตับอ่อน 7 ราย และเป็นโรคลำไส้ส่วนดูโอดีนัมตีบอีก 1 ราย ผู้ป่วย 11 เปอร์เซ็นต์ของโรคลำไส้ส่วนดูโอดีนัมอุดตันสมบูรณ์อาเจียนแบบไม่มีน้ำดีปน โรคเยื่อกั้นลำไส้ส่วนดูโอดีนัมอาเจียนมีน้ำดีปนและ 43 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยโรคนี้ได้รับการผ่าตัดตัดเยื่อกั้นลำไส้ออก ผู้ป่วย 29 รายได้รับการผ่าตัดดูโอดีโนดูโอดีนอสโตมี, 2 รายได้รับการผ่าตัดดูโอดีโนเจจูนอสโตมีและผู้ป่วยอีก 3 รายได้รับการผ่าตัดตัดเยื่อกั้นลำไส้ออก ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดดูโอดีโนดูโอดีนอสโตมีสามารถรับอาหารได้ใกล้เคียงกันกับการผ่าตัดตัดเยื่อกั้นลำไส้ออก การผ่าตัดดูโอดีโนดูโอดีนอสโตมีรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนสำหรับผู้ป่วย 18 รายให้ผลการรักษาไม่แตกต่างกันกับการผ่าตัดดูโอดีโนดูโอดีนอสโตมีแบบข้างต่อข้างซึ่งมีทั้งสิ้น 11 รายในแง่ของความสามารถในรับอาหารมื้อแรกและการรับอาหารอย่างสมบูรณ์ ระยะเวลาที่จำเป็นต้องได้รับอาหารทางเส้นเลือดดำและระยะเวลาที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล แม้ว่าการใส่สายให้อาหารผ่านรอยต่อลำไส้ซึ่งมีทั้งสิ้น 4 รายจะลดความจำเป็นในการให้อาหารทางเส้นเลือดดำและทำให้สามารถให้อาหารทางลำไส้ได้เร็วขึ้นก็ตาม ผู้ป่วยก็ยังไม่สามารถได้รับอาหารทางลำไส้อย่างเพียงพอ ทำให้ระยะเวลาของการให้อาหารทางเส้นเลือดดำตลอดจนระยะเวลาในการรับการรักษาในโรงพยาบาลนั้น ไม่ได้แตกต่างกันกับการไม่ได้ใส่สายให้อาหารผ่านรอยต่อลำไส้ซึ่งมีทั้งสิ้น 30 รายเลย

คำสำคัญ :                การอุดตันของดูโอดีนัม, ดูโอดีนัมตีบตัน, ตับอ่อน, เทคนิคการเย็บ, การตัดต่อลำไส้, ผลแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด, ผลการรักษา, เด็ก, ทารก

รวิศ เรืองตระกูล, มงคล เลาหเพ็ญแสง, อัครพล มุ่งนิรันดร์, ชนา สาทรกิจ

จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2544; 84: 842-849

* สาขาวิชากุมารศัลยศาสตร์, ภาควิชาศัลยศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพ ฯ 10700