Clinical and Laboratory Findings in Patients with Pulmonary Embolism in Phramongkutklao Hospital

0
Rate this post

Clinical and Laboratory Findings in Patients with Pulmonary Embolism in Phramongkutklao Hospital

APPIRAK PALWATWICHAI, M.D. DIC&M.Sc.*, PITAYA GAEWTAM-MANUGUL, M.D.*,

WICHEAN APIRATPRACHA, M.D.*, ANAN VATTANATHUM, M.D.*,

DAMKIRNG TANTAMACHARIK, M.D.*, ADISORN WONGSA, M.D.*

Abstract

                Pulmonary embolism (PE) was believed to be a rare disease and often misdiagnosed in Thailand. Only a few cases of PE in Thai patients have been reported. The purpose of this study was to describe the characteristics of history, physical examination and laboratory investigations in Thai patients with PE. Forty-nine patients diagnosed as PE in Phramongkutklao Hospital between 1994 and 1998 were included in the study. All patients underwent complete history, physical examination and appropriate laboratory studies. The mean age of this patient group was 53 years. Thirty-four per cent of these patients were first suspected of lung embolism while the others were misdiagnosed as congestive heart failure, myocardial infarction, pneumonia or septic shock. The most common syndrome was isolated dyspnea. Interestingly, chronic thromboembolic pulmonary hypertension which is uncommonly found in western countries was diagnosed in 12 per cent of our patients. Dyspnea, pleuritic pain, leg swelling, cough, tachypnea, tachycardia and increased pulmonary component of second heart sound were common symptoms and signs. A high-probability ventilation/perfusion lung scan and deep vein thrombosis were demonstrated in 93 per cent and 55 per cent of our patients, respectively. The mortality rate was 10 per cent.

Key word : Pulmonary Embolism, Deep Vein Thrombosis Lung Scan, Hypercoagulable

PALWATWICHAI A, GAEWTAM-MANUGUL P, APIRATPRACHA W,      

VATTANATHUM A, TANTAMACHARIK D, WONGSA A

J Med Assoc Thai 2000; 83: 1463-1470

* Pulmonary Unit, Department of Medicine, Phramongkutklao Hospital and College of Medicine, Bangkok 10400, Thailand.

โรคหลอดเลือดที่ปอดอุดตันที่ได้รับการวินิจฉัยที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

อภิรักษ์ ปาลวัฒน์วิไชย, พ.บ.*, พิทยา แก้วธรรมานุกูล, พ.บ.*,

วิเชียร อภิรัฐประชา, พ.บ.*, อนันต์ วัฒนธรรม, พ.บ.*,

ดำเกิง ตันธรรมจาริก, พ.บ.*, อดิศร วงษา, พ.บ.*

                โรคหลอดเลือดที่ปอดอุดตันเป็นโรคที่วินิจฉัยได้ยากและผิดพลาดได้บ่อย ถึงแม้จะเป็นโรคที่อาจพบได้เสมอในเวชปฏิบัติทั่วไป วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อศึกษาถึงลักษณะของอาการ, อาการแสดง และการสืบค้นทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญในผู้ป่วยจำนวน 49 รายที่ได้รับการวินิจโรคนี้ และรับไว้รักษาในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ระหว่างปี พ.ศ. 2537-2541 โดยที่ข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ป่วยจะถูกบันทึกทันทีเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดที่ปอดอุดตัน ผลการศึกษานี้พบว่า อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยคือ 53 ปี อัตราส่วนระหว่างผู้หญิงต่อผู้ชายใกล้เคียงกัน ประเด็นที่สำคัญคือมีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 34 เท่านั้นที่ได้รับการสงสัยว่าเป็นโรคนี้ตั้งแต่เริ่มต้น ในขณะที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ถูกวินิจฉัยผิดเป็นโรคหัวใจล้มเหลว, กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, ปอดอักเสบ หรือ ภาวะช็อกจากติดเชื้อในกระแสเลือด นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีลักษณะอาการของหลอดเลือดที่ปอดอุดตันแบบเรื้อรัง ซึ่งพบได้ไม่บ่อยนักจากรายงานของต่างประเทศ กลับพบได้ถึงร้อยละ 12 ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการพบว่า ventilation/perfusion lung scan มีลักษณะที่เข้าได้กับโรคหลอดเลือดที่ปอดอุดตันถึงร้อยละ 93 ผู้ป่วยมีหลอดเลือดดำที่ขาอุดตันร้อยละ 55 อัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้สูงถึงร้อยละ 10

คำสำคัญ : โรคหลอดเลือดที่ปอดอุดตัน

อภิรักษ์ ปาลวัฒน์วิไชย, พิทยา แก้วธรรมานุกูล, วิเชียร อภิรัฐประชา,

อนันต์ วัฒนธรรม, ดำเกิง ตันธรรมจาริก, อดิศร วงษา

จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2543; 83: 1463-1470

* แผนกโรคปอด, กองอายุรกรรม, โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า, กรุงเทพฯ 10400