Treatment of Benign Paroxysmal Positional Vertigo by Canalith Repositioning Procedure : Experience from Srinagarind Hospital

0
Rate this post

Treatment of Benign Paroxysmal Positional Vertigo by Canalith Repositioning Procedure : Experience from Srinagarind Hospital

Kwanchanok Yimtae, M.D.*,

Somchai Srirompotong, M.D.*,

Suthee Kraitrakul, M.D.*

Abstract

                Introduction : Benign paroxysmal positional vertigo (BPPV) is one of the most common causes of vertigo. The diagnosis is confirmed by observing a classical response during the Dix-Hallpike maneuver. The cause of BPPV is usually idiopathic. There are two popular hypotheses described regarding the pathogenesis of BPPV. The first one is the cupulolithiasis hypothesis, and the second hypothesis, the so-called canalithiasis hypothesis. The clinical course of BPPV is spontaneous recovery in weeks or months. Treatments for BPPV have ranged from no intervention to surgical treatment. The new treatment, Canalith-repositioning procedure (CRP) which was introduced by Epley in 1992 produces a very high rate of success. This treatment has caused interest and has been modified and studied worldwide in recent years.

                Objective : To study the efficacy of the canalith-repositioning procedure that we modified from Epleys maneuver in the treatment of BPPV patients.

                Design : A descriptive study. The BPPV patients, who came to the neurotologic clinic at Srinagarind Hospital from January 1997 to December 1998, were treated with our technique that was modified from Epleys maneuver. We neither used pre-medication, a mastoid oscillator, nor post-treatment instruction.

                Results : The total number of patients included in this study was 19. The efficacy of this procedure for curing nystagmus and vertigo was 89.5 per cent. One patient did not follow-up and one patient did not respond to the CRP. Complication such as vago-vagal reflex, lateral canalithiasis, occurred in 5.3 per cent of the patients. The recurrence of BPPV in our study was 26.3 per cent. However, CRP was also effective in treatment of both patients with recurrence as well as those without recurrence.

                Conclusion : The canalith-repositioning procedure that is modified from Epley is effective in the treatment of BPPV.

Key word : Benign Paroxysmal Positional Vertigo, Treatment, Canalith Repositioning Procedure

Yimtae k, Srirompotong s, Kraitrakul s

J Med Assoc Thai 2000; 83: 1478-1485

* Department of Otolaryngology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen 40002, Thailand.

การรักษาผู้ป่วย BPPV ด้วยวิธี Canalith Repositioning Procedure ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์

ขวัญชนก ยิ้มแต้, พ.บ.*,

สมชาย ศรีร่มโพธิ์ทอง, พ.บ.*, สุธี ไกรตระกูล, พ.บ.*

                ที่มา : Benign paroxysmal positional vertigo (BPPV) เป็นสาเหตุหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มาด้วยอาการเวียนศีรษะ การวินิจฉัยโรคทำเมื่อตรวจพบลักษณะอาการกระตุกของลูกตา (nystagmus) มีลักษณะดังที่ Dix&Hallpike ได้รายงาน พยาธิกำเนิดของโรคเชื่อว่าเกิดจากตะกอนหินปูนใน posterior semicircular canal การรักษาโรคนี้ส่วนใหญ่เป็นการรักษาแบบประคับประคองเนื่องจากอาการของผู้ป่วยโรค BPPV สามารถหายได้เอง แต่อาจต้องใช้ระยะเวลาเป็นสัปดาห์หรือเดือน การรักษาแบบใหม่ ด้วยวิธี canalith repositioning procedure ที่แนะนำโดย Epley ในปี 1992 เป็นการรักษาที่ได้ผลดีและสามารถลดระยะเวลาและอาการของโรคได้ การรักษาด้วยวิธีนี้เป็นที่สนใจทั่วโลกและมีรายงานผลการรักษาจากหลายสถาบัน

                วัตถุประสงค์ของการวิจัย : เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วย BPPV ด้วยวิธี canalith repositioning procedure โดยประยุกต์จากแบบของ Epley

            วิธีการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ในผู้ป่วยที่มีอาการของโรค BPPV ที่ รพ.ศรีนครินทร์ ตั้งแต่ปี 2539-2541 ซึ่งได้รับการรักษาด้วยวิธีการที่ดัดแปลงจากแบบของ Epley คือไม่ใช้เครื่องสั่นสะเทือนกระดูกมาสตอยด์ (mastoid oscillator) ร่วมกับการดัดแปลงการจัดท่าทางของศีรษะและลำตัว และไม่ต้องมีการปฏิบัติตัวเป็นพิเศษหลังการรักษา

                ผลการวิจัย : จากการศึกษาในผู้ป่วย 19 ราย พบว่าการรักษาได้ผลดีในผู้ป่วย 17 ราย (89.5%) มี 1 รายที่ต้องเปลี่ยนการรักษาเป็นวิธีอื่น และผู้ป่วยไม่มาติดตามการรักษา 1 ราย ผลแทรกซ้อนของการรักษาได้แก่ vago-vagal reflex และ lateral canalithiasis พบในผู้ป่วย 1 ราย (5.3%) มีผู้ป่วย 5 ราย (26.3%) ที่มีอาการของโรค BPPV เกิดซ้ำ การรักษาด้วยวิธีการ canalith repositioning procedure ในผู้ป่วยที่มีอาการของโรคซ้ำได้ผลดีพอๆกับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการของโรคซ้ำ

                สรุป : การรักษาผู้ป่วย BPPV ด้วยวิธี canalith repositioning procedure ที่ประยุกต์จากแบบของ Epley ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ

คำสำคัญ : Benign Paroxysmal Positional Vertigo, Treatment, Canalith Repositioning Procedure

ขวัญชนก ยิ้มแต้, สมชาย ศรีร่มโพธิ์ทอง, สุธี ไกรตระกูล

จดหมายเหตุการแพทย์ ฯ 2543; 83: 1478-1485

* ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น 40002