Percutaneous Balloon Mitral Valvulotomy with Transesophageal Echocardiographic Monitoring: Experience in Khon Kaen University
Songsak Kiatchoosakun, M.D.*, Songkwan Silaruks, M.D.*,
Pyatat Tatsanavivat, M.D.*, Virat Klungboonkrong, M.D.*,
Suda Tansuphasawadikul, M.D.**
Abstract
To study the results and complications of Percutaneous Balloon Mitral Valvulotomy with Transesophageal Echocardiographic monitoring in patients with symptomatic mitral stenosis. From November 1996 to November 1998, PBMV with TEE monitoring was performed in 107 patients with symptomatic mitral stenosis. There were 72 females and 35 males, aged 19 to 65 years (mean 37.63). The mitral valve was successfully dilated in 104 patients. Immediately after PBMV, there was significant reduction of mean mitral valve gradient (17.89 + 6.7 mm Hg to 6.21 + 3.02 mm Hg), mean left atrial pressure (26.67 + 6.61 mm Hg to 13.97 + 4.7 mm Hg), mean pulmonary artery pressure (35.21 + 13.03 mm Hg to 27.71 + 10.31 mm Hg). Mitral valve area was increased from 0.80 + 0.24 cm2 to 1.75 + 0.42 cm2 and cardiac output was increased from 3.84 + 0.97 L/min to 4.74 + 1.09 L/min. Mitral regurgitation was detected in 20 patients, severe mitral regurgitaion appeared in one patient. None of these patients required emergency surgery. Cardiac tamponade was detected in one case and resolved by pericardiocentesis. TEE was well tolerated and no complications of TEE were detected. PBMV aided by TEE is safe and well tolerated.
Key word : Transesophageal Echocardiography, Percutaneous Balloon Mitral Valvulotomy, Khon Kaen University
Kiatchoosakun s, Silaruks s, Tatsanavivat p,
Klungboonkrong v, Tansuphasawadikul s
J Med Assoc Thai 2000; 83: 1486-1491
* Division of Cardiology, Department of Medicine, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Bangkok 40002,
** Central Chest Hospital, Nonthaburi 11000, Thailand.
การขยายลิ้นหัวใจไมตรัลโดยใช้บอลลูนผ่านทางผิวหนังร่วมกับการใช้เครื่องตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจผ่านทางหลอดอาหารในมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ทรงศักดิ์ เกียรติชูสกุล, พ.บ.*, ทรงขวัญ ศิลารักษ์, พ.บ.*,
ปิยทัศน์ ทัศนาวิวัฒน์, พ.บ.*, วิรัตน์ คลังบุญครอง, พ.บ.*,
สุดารัตน์ ตันศุภสวัสดิกุล, พ.บ.**
การศึกษาผลของการรักษาและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ในการขยายลิ้นหัวใจไมตรัลโดยใช้บอลลูนผ่านทางผิวหนังร่วมกับการใช้เครื่องตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจผ่านทางหลอดอาหารในผู้ป่วยลิ้นหัวใจไมตรัลตีบจำนวน 107 ราย เป็นหญิง 72 ราย เป็นชาย 35 ราย อายุตั้งแต่ 19 กับ 65 ปี (เฉลี่ย 37.63 ปี) การขยายลิ้นหัวใจประสบความสำเร็จจำนวน 104 ราย หลังการรักษาขนาดของลิ้นหัวใจไมตรัลเพิ่มขึ้นจาก 0.08 + 0.24 ตร.ซม. เป็น 1.75 + 0.43 ตร.ชม. ความดันในเอเตรียมซ้ายลดลงจาก 26.67 + 6.61 มม.ปรอท เป็น 13.97 + 4.75 มม.ปรอท ค่าความแตกต่างระหว่างความดันในเอเตรียมซ้ายและเวนตริเคิลซ้ายลดลงจาก 17.89 + 6.72 มม.ปรอท เป็น 6.21 + 3.02 มม.ปรอท ความดันในหลอดเลือดปอดลดลงจาก 35.22 + 13.04 มม.ปรอท เป็น 27.78 + 10.31 มม.ปรอท พบภาวะลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วจำนวน 20 ราย ในจำนวนนี้ 1 รายเป็นลิ้นหัวใจรั่วชนิดรุนแรง เกิดภาวะบีบรัดหัวใจเนื่องจากมีเลือดออกในเยื่อหุ้มหัวใจ 1 ราย ไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการใช้เครื่องตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจผ่านทางหลอดอาหาร
การศึกษานี้พบว่าการใช้เครื่องตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจผ่านทางหลอดอาหารร่วมกับการขยายลิ้นหัวใจไมตรั้ลโดยใช้บอลลูนผ่านทางผิวหนัง ทำให้การรักษาด้วยวิธีนี้ได้ผลและมีความปลอดภัยมากขึ้น
คำสำคัญ : การขยายลิ้นหัวใจไมตรัล, ใช้บอลลูนผ่านทางผิวหนัง, ร่วมกับการใช้เครื่องตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจผ่านทางหลอดอาหาร
ทรงศักดิ์ เกียรติชูสกุล, ทรงขวัญ ศิลารักษ์, ปิยทัศน์ ทัศนาวิวัฒน์,
วิรัตน์ คลังบุญครอง, สุดารัตน์ ตันศุภสวัสดิกุล
จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2543; 83: 1486-1491
* หน่วยโรคหัวใจ, ภาควิชาอายุรศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น 40002
** โรงพยาบาลโรคทรวงอก, นนทบุรี 11000