Situational Analysis of the Health Insurance Market and Related Educational Needs in the Era of Health Care Reform in Thailand
Jiruth Sriratanaban, M.D., Ph.D.*, Soontorn Supapong, M.D., M.Sc.*,
Pirom Kamolratanakul, M.D., M.Sc.*, Kamjorn Tatiyakawee, M.D.**,
Samrit Srithamrongsawat, M.D., M.H.S.***
Abstract
The purposes of this study were to explore the situation of health insurance in Thailand, to compare public and private perspectives and to identify related educational needs. Between March and April of 1998, the study employed in-depth interviews of 12 public and private major stakeholders of the health insurance systems, including policy makers, providers and insurers. Additional inputs were gathered in a brainstorming session with 41 participants from organizations with important roles in regulating, monitoring, paying, or providing health care services, as well as research and education.
The findings indicated the health insurance market was expanding. But there was no national policy on health insurance. Insurance-related law was outdated. Public and private schemes overlapped, and were generally characterized by inadequate risk diversification, over-utilization of services, lack of effective cost containment, inconsistent service quality, and poor understanding of health insurance principles. There were needs for more education and training in various aspects of health services management and health-insurance related functions.
Consequently, continuing education and training related to health insurance services for policy makers, system administrators, managers, providers and insurers are strongly recommended during the health-care reform process.
Key word : Health Insurance, Health Care Reform, Education, Thailand
SRIRATANABAN J, SUPAPONG S, KAMOLRATANAKUL P,
TATIYAKAWEE K, SRITHAMRONGSAWAT S
J Med Assoc Thai 2000; 83: 1492-1501
* Department of Preventive and Social Medicine, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University,
** Department of Microbiology, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330,
*** Health Insurance Office, Ministry of Public Health, Nonthaburi 11000, Thailand.
การประเมินสถานการณ์ตลาดการประกันสุขภาพและความต้องการด้านการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องในยุคของการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุขในประเทศไทย
จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์, พ.บ., Ph.D.*, สุนทร ศุภพงษ์, พ.บ., M.Sc.*,
ภิรมย์ กมลรัตนกุล, พ.บ., M.Sc.*, กำจร ตติยกวี, พ.บ.**,
สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, พ.บ., M.Sc.***
การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับการประกันสุขภาพในประเทศไทย เปรียบเทียบมุมมองระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และค้นหาความต้องการด้านการศึกษาอบรมที่เกี่ยวข้องกับการประกันสุขภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญในระบบประกันสุขภาพ ได้แก่ ผู้บริหารระดับนโยบาย ผู้ให้บริการ และองค์กรที่รับประกัน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายน พ.ศ. 2541 และโดยจัดการประชุมระดมสมองขึ้น มีผู้เข้าร่วมประชุม 41 ท่านจากองค์กรที่มีบทบาทที่สำคัญทั้งภาครัฐและเอกชน ในด้านการควบคุม การกำกับ การคลัง และการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ รวมทั้งด้านการวิจัยและการศึกษา
ผลการศึกษาพบว่า ตลาดของการประกันสุขภาพกำลังขยายตัว อย่างไรก็ตามยังไม่มีนโยบายในระดับชาติเกี่ยวกับเรื่องการประกันสุขภาพ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันล้าสมัย มีความซ้ำซ้อนกันระหว่างระบบการประกันสุขภาพของภาครัฐ และระบบของภาคเอกชน และมักมีปัญหาในด้านการกระจายความเสี่ยงไม่ดี มีการใช้บริการที่มากเกินสมควร ไม่มีการควบคุมต้นทุนที่มีประสิทธิผล คุณภาพของบริการไม่สม่ำเสมอ บุคลากรที่เกี่ยวข้องมักมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับหลักการของการประกันสุขภาพ และพบว่ามีความต้องการด้านการศึกษาและอบรมในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดการบริการทางสุขภาพและบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการประกันสุขภาพ
ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการศึกษาและอบรมต่อเนื่องในเรื่องบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการประกันสุขภาพสำหรับผู้บริหารระดับนโยบาย ผู้บริหารระบบประกัน ผู้จัดการ ผู้ให้บริการ และผู้รับประกัน น่าจะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกระบวนการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข
คำสำคัญ : ประกันสุขภาพ, การปฏิรูปการดูแลสุขภาพ, การศึกษา, ประเทศไทย
จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์, สุนทร ศุภพงษ์,
ภิรมย์ กมลรัตนกุล, กำจร ตติยกวี, สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์
จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2543; 83: 1492-1501
* ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
** ภาควิชาจุลชีววิทยา, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพ ฯ 10330
*** สำนักงานประกันสุขภาพ, กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุรี 11000