Prenatal Diagnosis : 10-Year Experience
Pannee Sirivatanapa, M.D.*, Theera Tongsong, M.D.*,
Chanane Wanapirak, M.D.*, Supatra Sirichotiyakul, M.D.*,
Pharuhus Chanprapaph, M.D.*, Acharawan Yampochai, B.Sc.*,
Apiradee Takapijitra, B.Sc.*, Ratanaporn Sekararithi, B.A.*
Abstract
To evaluate the indications and results of prenatal diagnosis of the high risk pregnant women attending the antenatal care clinic at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital, Chiang Mai University during 1988-1998, we analysed 2,315 amniocenteses, 1,000 cordocenteses, and 11,895 obstetric ultrasound examinations. Among the amniocentesis group, 2,017 cases (87%) were done with the indication of advanced maternal age. The prevalence of major abnormal fetal chromosomes among high risk pregnancies was 1:58. Of 1,000 cases with cordocentesis, the most common indication was fetal risk of severe thalassemia (658 cases; 65.8%) and followed by fetal risk of chromosome abnormalities (272 cases; 27.2%). In the group of cordocentesis for diagnosis of thalassemia, 99 and 49 pregnancies were affected with Hb Bart’s disease and homozygous b-thalassemia, respectively. Thirty three cases with indication of chromosome analysis had fetuses with abnormal chromosomes. The major indications of ultrasonography included suspicion of intrauterine growth restriction (IUGR), determination of gestational age and screening anomalies, respectively. In conclusion, our extensive experience has enabled us to prenatally detect most fetuses with severe thalassemia, and fetuses with abnormal chromosomes as well as anomalies in a significant number, contributing a great deal to our population. Therefore, we recommend that systematic prenatal diagnosis, either amniocentesis, cordocentesis or ultrasound should be provided to every high risk pregnant woman for a healthy newborn.
Key word : Prenatal Diagnosis, Amniocentesis, Cordocentesis, Ultrasonography, 10-Year Experience, Chiang Mai University
Sirivatanapa p, Tongsong t, Wanapirak c, et al
J Med Assoc Thai 2000; 83: 1502-1508
* Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Chiang Mai University, Chiang Mai 50200, Thailand.
การวินิจฉัยก่อนคลอด : ประสบการณ์ 10 ปี
พรรณี ศิริวรรธนาภา, พ.บ.*, ธีระ ทองสง, พ.บ.*,
ชเนนทร์ วนาภิรักษ์, พ.บ.*, สุพัตรา ศิริโชติยะกุล, พ.บ.*,
พฤหัส จันทร์ประภาพ, พ.บ.*, อัจฉราวรรณ แย้มโพธิ์ใช้, วท.บ.*,
อภิรดี ตรรกไพจิตร, วท.บ.*, รัตนาภรณ์ เศขรฤทธิ์, ศศ.บ.พยาบาล*
การศึกษาย้อนหลังเพื่อประเมินผลการวินิจฉัยก่อนคลอดในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ในแง่ข้อบ่งชี้ ผลการตรวจสอบและผลการตั้งครรภ์ โดยศึกษาในช่วงปี พ.ศ. 2531-2540 การวินิจฉัยก่อนคลอดที่ให้บริการประจำแก่สตรีตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงได้แก่ การเจาะน้ำคร่ำตรวจโครโมโซม (2,315 ครั้ง) เจาะเลือดสายสะดือทารก (1,000 ครั้ง) และการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (11,895 ครั้ง) ส่วนใหญ่ของการเจาะน้ำคร่ำ (ร้อยละ 87) มีข้อบ่งชี้เนื่องจากมารดาอายุมาก ประสบความสำเร็จในการเจาะและเลี้ยงเซลล์ 2,139 ราย มีความชุกของโครโมโซมผิดปกติที่สำคัญ 1:58 ข้อบ่งชี้หลักของการตรวจเลือดสายสะดือคือทารกมีความเสี่ยงต่อโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง (ร้อยละ 65.8) และตรวจโครโมโซม (ร้อยละ 27.2) ในกลุ่มเจาะเพื่อวินิจฉัยธาลัสซีเมียพบทารกเป็นโรคฮีโมโกลบินบาร์ท 99 ราย โรคเบต้าธาลัสซีเมีย 49 ราย ในกลุ่มตรวจโครโมโซมพบว่าทารกมีความผิดปกติของโครโมโซม 33 ราย สำหรับการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงตรวจตามข้อบ่งชี้ (ไม่ได้ตรวจเป็นกิจวัตร) ข้อบ่งชี้หลักคือเพื่อกำหนดอายุครรภ์ สงสัยทารกโตช้า และคัดกรองความพิการโดยกำเนิด ทำให้สามารถคัดกรองความพิการโดยกำเนิดสำคัญได้กว่าร้อยละ 72 โดยสรุป: ประสบการณ์กว้างขวางนี้ช่วยให้สามารถป้องกันโรคธาลัสซีเมียในทารกได้เกือบหมด ความพิการโดยกำเนิดสามารถวินิจฉัยได้ก่อนคลอดเป็นส่วนมาก และค้นหาความผิดปกติทางโครโมโซมได้จำนวนมาก การวินิจฉัยก่อนคลอดด้วยวิธีทั้งสามน่าจะเหมาะสมที่จะให้บริการแก่ครรภ์เสี่ยงสูงอย่างเป็นระบบ
คำสำคัญ : การวินิจฉัยก่อนคลอด, การเจาะน้ำคร่ำ, การเจาะเลือดสายสะดือทารก, คลื่นเสียงความถี่สูง, ประสบการณ์สิบปี, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พรรณี ศิริวรรธนาภา, ธีระ ทองสง, ชเนนทร์ วนาภิรักษ์ และคณะ
จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2543; 83: 1502-1508
* ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่ 50200