Prevalence of Video Games Among Thai Children : Impact Evaluation

0
Rate this post

Prevalence of Video Games Among Thai Children : Impact Evaluation

Poonsap Jirasatmathakul, M.D.*,

Yong Poovorawan, M.D.*

Abstract

                The present study was performed in order to determine prevalence and favored types of video games among altogether 679 primary and secondary school children in Thailand. To that end, the authors distributed questionnaires comprising detailed questions as to demographic data, playing frequency, available location and preferred type of video games among the parents of the children and adolescents to be investigated. Consistent with the literature, our results showed an early onset of video game playing (7.6 years), a higher prevalence among boys compared with girls, and a predilection for games invoking some aggressive behavior. In conclusion, although health hazards created by video game playing have remained beyond proof we still recommend parents and teachers to play a more active part as to the choice of games and the time spent playing.

Key word : Video Game, Children, Prevalence

JIRASATMATHAKUL P & POOVORAWAN Y

J Med Assoc Thai 2000; 83: 1509-1513

* Department of Pediatrics, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand.

ความชุกของการเล่นวิดีโอเกม ประเมินผลกระทบในเด็กไทย

พูนทรัพย์ จิรเศรษฐเมธากุล, พ.บ.*, ยง ภู่วรวรรณ, พ.บ.*

                ปัจจุบันวิดีโอเกม เป็นที่รู้จักและเล่นกันอย่างแพร่หลายในกลุ่มเด็กวัยเรียน รายงานนี้เป็นการศึกษาถึงความชุกในการเล่นวิดีโอเกมและเกมที่เด็กชอบ โดยทำการศึกษาในกลุ่มนักเรียนชั้นประถมและมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 679 ราย โดยใช้แบบสอบถามที่ประกอบไปด้วยข้อมูลพื้นฐานของเด็ก ความถี่ สถานที่ในการเล่น และชนิดของเกมที่ชอบ โดยการถามเด็กและผู้ปกครอง พบว่าเด็กเริ่มเล่นเกมมีอายุเฉลี่ย 7.6 ปี เด็กชายเล่นเกมมากกว่าเด็กหญิง โดยที่เด็กชายเคยเล่นเกมร้อยละ 91 และเด็กหญิงเคยเล่นเกมร้อยละ 78 เกมที่เด็กชอบเล่นส่วนใหญ่ จะเป็นเกมที่เพลิดเพลิน (36.5%) ความรุนแรงต่อสู้ (25.8%) ตื่นเต้นผจญภัย (20.3%) เกมกีฬา (16.7%) และเป็นเกมที่เกี่ยวกับการศึกษาโดยตรงร้อยละ 0.7 ครูและผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในการเลือกชนิดของเกมและกำหนดเวลาการเล่นให้เหมาะสมเพื่อให้เด็กได้ใช้เวลาไปในทางการศึกษาและสังคมมากขึ้น

คำสำคัญ : วิดีโอเกม, เด็ก, ความชุก

พูนทรัพย์ จิรเศรษฐเมธากุล, ยง ภู่วรวรรณ

จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2543; 83: 1509-1513

* ภาควิชากุมารเวชศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ 10330