Esophageal Foreign Bodies
PICHIT SITTITRAI, M.D.*,
THIENCHAI PATTARASAKULCHAI, M.D.*,
HATAIPAT TAPATIWONG, M.D.*
Abstract
A retrospective study of 310 patients with foreign bodies in the esophagus was analyzed. The most common age of the esophageal foreign body patients was between 0 to 9 years old (32.6%), and a coin was the most common foreign object in children. Bone, fish bone and bolus of meat were found commonly in adults, while dentures were encountered in the old age group. History of foreign body ingestion, dysphagia and odynophagia were usually presented by the patients. Roentgenographic study was useful in diagnosis and plan of management. Rigid esophagoscopy under general anesthesia is recommended in all patients with suspected history of foreign body, even though plain films of the chest and neck failed to demonstrate any significant findings. Complications can be reduced if the treatment is conducted within 24 hours of foreign body impaction.
Key word : Esophageal Foreign Body, Rigid Esophagoscopy
SITTITRAI P, PATTARASAKULCHAI T, TAPATIWONG H
J Med Assoc Thai 2000; 83: 1514-1518
* Department of Otolaryngology, Faculty of Medicine, Chiang Mai University, Chiang Mai 50200, Thailand.
สิ่งแปลกปลอมในหลอดอาหาร
พิชิต สิทธิไตรย์, พ.บ.*, เธียรไชย ภัทรสกุลชัย, พ.บ.*,
หทัยภัทร ถปะติวงศ์, พ.บ.*
ได้ศึกษาย้อนหลังผู้ป่วย 310 รายที่มีวัตถุแปลกปลอมในหลอดอาหาร ช่วงอายุที่พบได้บ่อยที่สุดคือ อายุน้อยกว่า 9 ปี เหรียญคือสิ่งแปลกปลอมที่เป็นสาเหตุสำคัญในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ขณะที่กระดูก ก้างปลา และชิ้นส่วนของเนื้อสัตว์พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ ผู้ป่วยสูงอายุมักมีปัญหาจากฟันปลอมหลุดลงคอ อาการสำคัญที่ทำให้มาพบแพทย์คือ มีวัตถุแปลกปลอมติดคอ กลืนลำบาก และกลืนเจ็บ ภาพถ่ายรังสีของทรวงอก และคอจะช่วยการวินิจฉัยรวมทั้งบ่งบอกถึงลักษณะ และตำแหน่งของสิ่งแปลกปลอม ผู้ป่วยที่ให้ประวัติสงสัยจะมีสิ่งแปลกปลอมในหลอดอาหาร แม้ว่าการตรวจทางรังสีวิทยาจะให้ผลลบ ก็ควรให้การรักษาทุกราย การรักษาที่แนะนำคือ ทำ rigid esophagoscopy ภายใต้การดมยาสลบ และพบว่าถ้าสามารถนำสิ่งแปลกปลอม ออกจากหลอดอาหารภายใน 24 ชั่วโมงหลังมีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ จะลดโอกาสเกิดภาวะ แทรกซ้อนแก่ผู้ป่วยได้
คำสำคัญ : สิ่งแปลกปลอมในหลอดอาหาร
พิชิต สิทธิไตรย์, เธียรไชย ภัทรสกุลชัย, หทัยภัทร ถปะติวงศ์
จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2543; 83: 1514-1518
* ภาควิชา โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่ 50200