The Risks of Prostate Cancer Detection by Transrectal Ultrasound Guide Biopsy in Thai Men with Abnormal Prostatic-Specific Antigen or Abnormal Digital Rectal Examination

0
Rate this post

The Risks of Prostate Cancer Detection by Transrectal Ultrasound Guide Biopsy in Thai Men with Abnormal Prostatic-Specific Antigen or Abnormal Digital Rectal Examination

Sunai Leewansangtong, M.D.*,          Anupan Tantiwong, M.D.*,

Samrerng Ratanarapee, M.D.**,        Chaiyong Nualyong, M.D.*,

Suchai Soontrapa, M.D.*

Abstract

                Objective : To determine the risks of prostate cancer detection in Thai men with abnormal prostatic-specific antigen (PSA) or abnormal digital rectal examination (DRE).

                Material and Method : One hundred and forty four Thai men with abnormal PSA or abnormal DRE or both were biopsied at the prostate gland with the use of transrectal ultrasound guide biopsy (TRUSBX). The risks of prostate cancer detection were evaluated.

                Results : Mean age was 65.7 years old (S.D. = 9.88). The risks of positive biopsy according to the PSA levels of 0-4 ng/ml, 4.1-10 ng/ml, 10.1-20 ng/ml, 20.1-50 ng/ml, 50.1-100 ng/ml and more than 100 ng/ml were 6.25 per cent, 6.67 per cent, 10.8 per cent, 33.3 per cent, 60 per cent and 100 per cent, respectively. The risks of positive biopsy according to DRE appearances of total hard consistency, nodule, induration and benign prostatic hyperplasia were 57.1 per cent, 23.5 per cent, 34.6 per cent and 10 per cent, respectively. Of 144 men, 32 had adenocarcinoma of prostate. Radical prostatectomy was performed on 15 patients with clinically localized disease. Ten patients (66.6%) had free margin on their pathological specimens and 6 (40%) had organ confined disease.

                Conclusion : PSA testing alone or DRE alone is not a perfect test to diagnose prostate cancer since prostate cancer may present in men with normal PSA or men with no suspicious cancer DRE. For early detection of prostate cancer, both PSA testing and DRE need to be performed. When either PSA testing or DRE or both is abnormal, TRUSBX should be carried out.

Keyword : Prostate, Prostatic Carcinoma, Prostatic-Specific Antigen

Leewansangtong S, Tantiwong A,

Ratanarapee S, Nualyong C, Soontrapa S

J Med Assoc Thai 2000; 83: 1519-1524

 * Division of Urology, Department of Surgery,

** Department of Pathology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University, Bangkok 10700, Thailand.

อัตราเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากในการตัดเนื้อตรวจโดยการใช้อัลตร้าซาวด์นำทางในชายไทยที่มีค่าพรอสตาติก-สเปคซิฟิก แอนติเจน หรือการตรวจต่อมลูกหมากที่ผิดปกติโดยนิ้วทางทวารหนัก

สุนัย ลีวันแสงทอง, พ.บ.*, อนุพันธ์ ตันติวงศ์, พ.บ.*,

สำเริง รัตนะระพี, พ.บ.**, ไชยยงค์ นวลยง, พ.บ.*,

สุชาย สุนทราภา, พ.บ.*

                วัตถุประสงค์ : เพื่อต้องการหาอัตราเสี่ยงของการค้นพบมะเร็งต่อมลูกหมากในชายไทยที่มีค่าพรอสตาติก-เปคซิฟิก แอนติเจน (PSA) ที่ผิดปกติ หรือการตรวจต่อมลูกหมากโดยนิ้วทางทวารหนัก (DRE) ที่ผิดปกติ

                ผู้ป่วยและวิธีการ : ชายไทย 144 คน ที่มีความผิดปกติของค่า PSA หรือ DRE ได้ทำการตัดเนื้อตรวจเพื่อหามะเร็งต่อมลูกหมากโดยการใช้อัลตร้าซาวด์นำทาง (TRUSBX) ผลของการตัดเนื้อตรวจได้นำมาวิเคราะห์

                ผล : อายุเฉลี่ยของชายไทยกลุ่มนี้เท่ากับ 65.7 ปี โอกาสที่ชายไทยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจำแนกตามค่า PSA ได้ดังนี้ ระดับ PSA 0-4 ng/ml, 4.1-10 ng/ml, 10.1-10 ng/ml, 20.1-50 ng/ml, 50.1-100 ng/ml และ มากกว่า 100 ng/ml โอกาสคือ 6.25%, 6.67%, 10.8%, 33.3%, 60% และ 100% ตามลำดับ โอกาสที่ชายไทยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจำแนกตาม DRE ได้ดังนี้ ต่อมลูกหมากแข็งทั้งต่อม, ต่อมลูกหมากคลำได้เป็นตุ่ม, ต่อมลูกหมากคลำได้แข็งบางส่วน, ต่อมลูกหมากโตธรรมดา โอกาสคือ 57.1, 23.5%, 34.6% และ 10% ตามลำดับ ในชาย 144 คนพบว่า 32 คน เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ในผู้ป่วย 15 คน ที่ได้รับการผ่าตัด radical prostatectomy พบว่า 66.6% ของผู้ป่วยสามารถเอาก้อนทูมออกได้หมด และ 40% ของผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากไม่กระจายออกนอกต่อมลูกหมาก

                สรุป : การตรวจ PSA อย่างเดียวหรือ DRE อย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะให้การวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมากได้สมบูรณ์ เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากสามารถพบได้ในชายไทยที่มีค่า PSA ปกติ หรือการตรวจ DRE ที่ปกติได้ ดังนั้นเพื่อจะวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมากให้ได้ในระยะต้น การตรวจทั้ง PSA และ DRE มีตามจำเป็นต้องทำ ถ้าการตรวจ PSA หรือ DRE มีความผิดปกติ ชายไทยผู้นั้นควรจะได้รับการทำ TRUSBX

คำสำคัญ : ต่อมลูกหมาก, มะเร็งต่อมลูกหมาก, พรอสตาติก-สเปคซิฟิก แอนติเจน

สุนัย ลีวันแสงทอง, อนุพันธ์ ตันติวงศ์,

สำเริง รัตนะระพี, ไชยยงค์ นวลยง, สุชาย สุนทราภา

จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2543; 83: 1519-1524

 * สาขาศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา, ภาควิชาศัลยศาสตร์,

** ภาควิชาพยาธิวิทยา, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ 10700