Endoscopy in HIV Infected Patients

0
Rate this post

Endoscopy in HIV Infected Patients

RUNGSUN Rerknimitr, M.D.*,

PINIT KULLAVANIJAYA, M.B. Ch.B., F.R.C.P., F.A.C.G., F.A.C.P.*

Abstract

                HIV is a very common infection in Thailand, affecting about one million of the population already, with 99,555 persons with full blown AIDS at the end of 1999. The first case of AIDS was reported in Thailand in 1984. Gastrointestinal involvement is very common, the commonest presentations are diarrhea, esophageal symptoms, hepatobiliary symptoms, and weight loss. When the CD4 + T cell count falls below 200, the body becomes highly susceptible to opportunistic infections and neoplasms. Almost all AIDS patients will have GI symptoms at sometime during the course of their illness. This is because the GI tract contains an abundant quantity of lymphoid tissue and is likely to function as a reservoir of HIV infection. In chronic diarrhea cases, apart from other investigations, small bowel biopsy and aspiration may help to find the cause. If oral candidiasis is present, one should keep HIV in mind and look for oral hairy leucoplakia, dysphagia and odynophagia as one-third of patients with AIDS will develop dysphagia or odynophagia in the course of their disease. Those with esophageal candidiasis will usually have oral candidiasis and odynophagia while 18 per cent of the patients will not have oral thrush. CMV esophagitis and HIV ulcer (or idiopathic oesophageal ulcer) are also common. Upper gastrointestinal endoscopy and biopsy are helpful in finding the exact cause of the oesophageal symptoms. Hepatobiliary manifestations are present with jaundice, hepatomegaly, and pain. ERCP is very helpful in diagnosing and classifying these conditions. Papillary stenosis and dominant biliary stricture can be treated by endoscopy but long term results are still poor due to late manifestation of these conditions.

Key word : HIV-Infected Patient, Gastrointestinal Endoscopy

Rerknimitr r & KULLAVANIJAYA P

J Med Assoc Thai 2001; 84 (Suppl 1): S26-S31

*              Gastroenterology Unit, Department of Internal Medicine, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand.

การส่องกล้องทางเดินอาหารในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอ็ชไอวี

รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร, พ.บ.*, พินิจ กุลละวณิชย์, พ.บ.*

                ภาวะติดเชื้อเอ็ชไอวี เป็นปัญหาที่พบบ่อยในประเทศไทย ประมาณว่า มีผู้ที่ติดเชื้อแล้วประมาณ 1 ล้านคน โดยทั้งนี้ประมาณ 99,555 คน มีอาการเอดส์เต็มขั้น (ประเมินเมื่อปี 2542) โดยมีรายงานผู้ป่วยเอดส์รายแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2527 ในผู้ป่วยโรคเอดส์ การแสดงอาการของโรคทางเดินอาหารมีได้อยู่บ่อย ทั้งอาจแสดงออกด้วยกลุ่มอาการท้องเดิน อาการทางหลอดอาหาร อาการทางท่อทางเดินน้ำดี และน้ำหนักลด ร่างกายของผู้ป่วยโรคเอดส์จะติดเชื้อหรือเป็นมะเร็งได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ CD4 + T cell ต่ำกว่า 200 ส่วนใหญ่ของผู้ติดเชื้อเอ็ชไอวีทุกราย จะมีอาการของโรคทางเดินอาหาร เพราะทางเดินอาหารประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อของน้ำเหลืองและเม็ดเลือดขาว ซึ่งเนื้อเยื่อเหล่านี้จะเป็นแหล่งกบดานของเชื้อต่างๆ มากมาย การวินิจฉัยสาเหตุของผู้ป่วยที่มาด้วยโรคท้องเสียเรื้อรัง อาจจะใช้การตัดชิ้นเนื้อของลำไส้เล็กหรือการดูดน้ำในลำไส้ส่วนนี้มาตรวจ โดยทั่วไปผู้ป่วยมีเชื้อราในปาก โดยไม่มีโรคสําคัญที่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำร่วมด้วย มักจะบ่งชี้ถึงการติดเชื้อเอ็ชไอวี ทั้งนี้กลุ่มอาการกลืนลำบากหรือกลืนเจ็บ มีมากถึงหนึ่งในสามของผู้ป่วยโรคเอดส์ และในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อแคนดิดาในหลอดอาหาร บางคนอาจจะไม่มีเชื้อราในช่องปาก (18%) CMV esophagitis และ HIV ulcer ก็ถูกรวมในผู้ป่วยกลุ่มนี้ การตรวจวินิจฉัยด้วยการตัดชิ้นเนื้อระหว่างการส่องกล้องสามารถช่วยหาสาเหตุของโรคได้ กลุ่มอาการปวดท้อง ตับโตและตัวเหลือง เป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยเอดส์ที่มีปัญหาของท่อทางเดินน้ำดี ERCP จะมีประโยชน์มากในการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยกลุ่มนี้ Papillary stenosis และ dominant biliary stricture นั้น สามารถรักษาได้ด้วย endoscopy แต่ผลการรักษาระยะยาวยังไม่เป็นที่น่าพอใจนัก เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่แล้วป่วยมานาน

คำสำคัญ : ผู้ป่วยติดเชื้อเอ็ชไอวี, การส่องกล้องทางเดินอาหาร

รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร, พินิจ กุลละวณิชย์

จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2544; 84 (ฉบับพิเศษ 1): S26-S31

* สาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร, ภาควิชาอายุรศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพ ฯ 10330