Loop Electrosurgical Excision Procedure (LEEP) at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital : Problems in Pathologic Evaluation

0
Rate this post

Loop Electrosurgical Excision Procedure (LEEP) at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital : Problems in Pathologic Evaluation

Surapan Khunamornpong, M.D.*,

Kasem Raungrongmorakot, M.D.**,

Sumalee Siriaunkgul, M.D.*

Abstract

                Background : Loop electrosurgical excision procedure (LEEP) is widely used in diagnosis and management of cervical lesions. Difficulties in histopathologic evaluation of LEEP specimens, particularly for the margin status, have been reported to be a significant disadvantage of the procedure.

                Method : The histologic slides of the specimens from 163 patients who underwent LEEP at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital from August 1995 to November 1997 were retrospectively reviewed for the degree of thermal artefact and the margin status. Follow-up data after a 6-month-period were correlated with the margin status.

                Results : Thermal artefact was present in all cases (mild 51.5%, moderate 36.2%, and severe 12.3%). In only one case, histologic diagnosis of the lesion was not possible due to severe thermal artefact. Nine cases (5.5%) had non-evaluable margins due to either thermal artefact (7 cases) or improper orientation of fragmented tissue (2 cases). Of 90 cases with subsequent surgical specimens, residual diseases were present in 4 of 21 (19.0%) with negative LEEP margins, in 31 of 64 (48.4%) with positive margins, and in 4 of 5 (80.0%) with non-evaluable margins.

                Conclusions : Pathologic evaluation of the specimens from LEEP was limited in only a minority of cases. Thermal artefact was not a critical disadvantage of LEEP. The positive or negative margin status was correlated with the risk of residual disease.

Key word : LEEP, Uterine Cervix, Thermal Artefact

Khunamornpong S, Raungrongmorakot K, Siriaunkgul S

J Med Assoc Thai 2001; 84: 507-514

 *             Department of Pathology,

**             Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Chiang Mai University, Chiang Mai 50200, Thailand.

ปัญหาการแปลผลทางพยาธิวิทยาในชิ้นเนื้อที่ได้จากการตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้าที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

สุรพันธุ์ คุณอมรพงศ์, พ.บ.*,

เกษม เรืองรองมรกต, พ.บ.**, สุมาลี ศิริอังกุล, พ.บ.*

                การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้าเป็นวิธีการผ่าตัดเพื่อการวินิจฉัยและการรักษารอยโรคของปากมดลูกที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามชิ้นเนื้อปากมดลูกที่ได้อาจยากต่อการแปลผลทางพยาธิวิทยาโดยเฉพาะการแปลผลบริเวณขอบชิ้นเนื้อ

                ในการศึกษานี้ได้ทบทวนสไลด์จากชิ้นเนื้อปากมดลูกของผู้ป่วยที่ได้รับการตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้าที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2538 ถึง 30 พฤศจิกายน 2540 เป็นจำนวน 163 ราย เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของ thermal artefact และ ผลทางพยาธิวิทยาที่ขอบชิ้นเนื้อ และได้รวบรวมข้อมูลการตรวจทางพยาธิวิทยาเพิ่มเติมภายในระยะเวลา 6 เดือนเพื่อเปรียบเทียบกับผลทางพยาธิวิทยาของขอบชิ้นเนื้อ

                ผลการศึกษาพบมี thermal artefact ในชิ้นเนื้อของผู้ป่วยทุกราย โดยมีความรุนแรงระดับน้อย 51.5% ระดับปานกลาง 36.2% และระดับมาก 12.3% มีผู้ป่วยหนึ่งรายที่ไม่สามารถให้การวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาของรอยโรคได้ เนื่องจาก thermal artefact และมีผู้ป่วย 9 ราย (5.5%) ที่ไม่สามารถแปลผลทางพยาธิวิทยาของขอบชิ้นเนื้อได้ เนื่องจาก thermal artefact (7 ราย) หรือ เนื่องจากไม่สามารถบอกตำแหน่งขอบชิ้นเนื้อที่แท้จริง (2 ราย)

                เมื่อเปรียบเทียบผลทางพยาธิวิทยาของขอบชิ้นเนื้อที่ได้จากการตัดด้วยห่วงไฟฟ้ากับผลชิ้นเนื้อปากมดลูกที่ได้จากการผ่าตัดเพิ่มเติมในผู้ป่วยจำนวน 90 ราย พบรอยโรคเหลืออยู่ที่ปากมดลูกในกลุ่มที่ไม่พบรอยโรคที่ขอบชิ้นเนื้อจำนวน 4 ใน 21 ราย (19.0%) พบรอยโรคเหลืออยู่ 31 ใน 64 ราย (48.4%) ในกลุ่มที่ขอบชิ้นเนื้อมีรอยโรค และ พบรอยโรคเหลืออยู่ 4 ใน 5 ราย (80%) ในกรณีที่ไม่สามารถแปลผลขอบชิ้นเนื้อได้

                ชิ้นเนื้อที่ได้จากการตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้าส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาการแปลผลทางพยาธิวิทยา และไม่ใช่ข้อด้อยที่สำคัญของการตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า ผลทางพยาธิวิทยาของขอบชิ้นเนื้อปากมดลูกที่ได้จากการตัดด้วยห่วงไฟฟ้ามีความสัมพันธ์กับโอกาสที่จะมีรอยโรคคงเหลืออยู่ที่ปากมดลูก

คำสำคัญ : การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า

สุรพันธุ์ คุณอมรพงศ์, เกษม เรืองรองมรกต, สุมาลี ศิริอังกุล

จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2544; 84: 507-514

 *             ภาควิชาพยาธิวิทยา,

**             ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่ 50200