Doctor in the 30 Baht Era : Ethics vs Policy

0
Rate this post

Doctor in the 30 Baht Era : Ethics vs Policy

Sukhit Phaosavasdi, M.D.*,      Surasak Taneepanichskul, M.D.*,

Yuen Tannirandorn, M.D.*,      Chumsak Pruksapong, M.D.**

                It will be a great help to alleviate hardships of life for those people who live in poverty when the newly elected government proclaims the public health policy : “30 baht for all diseases”. As of the year 2001, the majority of Thai population in the rural and urban areas still has very low income per capita. We wish that other groups of the healthy and wealthy people should pray, and give hands to support the policy.

                We encounter this group of poor people every day. It is bad that we get used to and close to them, but we deviate our attention and pay no attention to solve their problems of heath care. What we see now is its ragged, worn, and torn image, which will be very difficult to improve the condition.

                The legal medical organizations such as Thai Medical Council, Medical Schools and all kinds of societies for medical purpose and practice must admit the “30 baht” policy. So far we see no sign of their thoughts and actions. They will pay none in order to call physicians’ attention to do merit for the poor now and the next couples of years. It is clear that in the present economic situation these poor cannot affort health care for themselves and they are blind on their way, going with no direction.

                If health care system for the poor has been corrected, just a little level better than ever the budget will not be expanded out of control. But doctors must work harder. Do you think “Doctors” are the key person to accomplish the “30 baht” policy? But they were left untouched. Government and the policy maker should pay attention to them at to “how to keep them working harder?” Million thousands of bath and ethical guidance may apply. But to build good ethics in physicians’ mind : devotion, sacrifice for the government policy, we must ask, “how long will it take? We can deliver good speech daily and all day but will it guarantee them to work harder, who then will work and how to work? Although doctors are key persons in the policy, they are human beings like other. They are not a newly discovered invention of machine, which consumes less gasoline or electricity but contributes higher output.

Key word : Physician, 30 Baht Policy, Ethics

Phaosavasdi s, Taneepanichskul s,

Tannirandorn y, Pruksapong c

J Med Assoc Thai 2001; 84: 609-610

 *             Obstetrics and Gynecology Department, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330,

**             Surgery Department, Police Hospital, Bangkok 10330, Thailand.

จริยธรรมทางการแพทย์ที่ราคา 30 บาท

สุขิต เผ่าสวัสดิ์, พ.บ.*, สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล, พ.บ.*,

เยื้อน ตันนิรันดร, พ.บ.*, ชุมศักดิ์ พฤกษาพงศ์, พ.บ.**

                นโยบายของรัฐ 30 บาท รักษาได้ทุกโรค นับเป็นบุญของคนไทยในสมัยนี้ที่จะได้รับผลสูงสุดกับคนยากไร้และด้อยโอกาสทางการศึกษา จึงควรที่คนไทยกลุ่มอื่น ๆ ที่อยู่ดีมีใช้แล้วคิดให้การส่งเสริมและให้ความร่วมมือ เพราะคนไทยที่มีทุกข์จริง ๆ จากหลายปัจจัยยังมีอยู่เป็นจำนวนมากเป็นล้าน ๆ คน ซุกตัวอยู่ในทุกซอกทุกมุมของเมืองใหญ่ๆ และกระจายอยู่เต็มตามเขตชนบทของทุกจังหวัดในประเทศ

                กลุ่มคนไทยที่ยากไร้มีให้สัมผัสได้ทุกวันด้วยตนเองหรือผ่านสื่อทั้งหลาย เป็นเพราะความเคยชินต่อภาพที่เห็นเป็นประจำหรือเปล่าจึงทำให้เกิดความไม่ใส่ใจและขาดการดูแลอย่างจริงจัง ทำให้เห็นปัญหาต่าง ๆ อย่างเช่นทางด้านสาธารณสุขเป็นภาพที่ขาดวิ่น ทรุดโทรม ยากที่จะพัฒนาให้ดีขึ้นมาได้

                องค์กรที่ควบคุมแพทย์อย่างถูกต้องตามกฎหมายเช่น แพทยสภา คณะแพทยศาสตร์ สมาคมที่เกี่ยวข้องทางวิชาชีพแพทย์ต่าง ๆ คงทราบนโยบายของรัฐเป็นอย่างดี แล้วคิดหรือลงมือปฏิบัติอย่างไร โดยเฉพาะการปลุกจิตสำนึกว่างานด้านการแพทย์ในเมืองไทยในระยะนี้และอีกหลายปีต่อไปเป็นงานกุศลแก่คนยากไร้ เพราะคนเหล่านี้ไม่มีทางช่วยเหลือตัวเอง หมดหนทางไปแล้วในชีวิต

                งานสาธารณสุขที่จะทำให้ดีขึ้นมาระดับหนึ่งตามนโยบายที่จะมอบให้แก่คนยากไร้คงใช้งบประมาณไม่มาก แต่แพทย์ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องต้องทำงานหนักมากขึ้นไปอีก แม้จะมีเงินล้นฟ้าเหลือเฟือเพื่อใช้ในนโยบายแต่แพทย์ที่เป็นตัวจักรในการดำเนินการไม่ได้รับการปฏิรูป รัฐบาลหรือผู้มีอำนาจในการสั่งงานคิดอย่างไร เชื่อหรือว่าแม้จะทำการปลุกจิตสำนึกอย่างสุดกำลัง แล้วจะได้ผลกับตัวจักรนี้อย่างไร เพราะการทำเช่นว่าเป็นการปลูกฝังจริยธรรมหวังให้เกิดความเสียสละ อุทิศกายและใจให้แก่นโยบายของรัฐ เป็นสิ่งที่สามารถพูดได้ทุกวันทุกเวลาแต่ใครจะลงมือทำและจะทำอย่างไร เพราะแพทย์เป็นคนและเป็นตัวจักรแต่ไม่ใช่เครื่องจักรสมัยใหม่ที่กินน้ำมันหรือไฟน้อยแต่ทำงานได้มหาศาล

คำสำคัญ : แพทย์, 30 บาท, จริยธรรม

สุขิต เผ่าสวัสดิ์, สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล, เยื้อน ตันนิรันดร, ชุมศักดิ์ พฤกษาพงศ์

จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2544; 84: 609-610

 * ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพ ฯ 10330

** ฝ่ายศัลยกรรม, โรงพยาบาลตำรวจ, กรุงเทพ ฯ 10330