Consequences of Hip Fracture Among Thai Women Aged 50 Years and Over : A Prospective Study

0
Rate this post

Consequences of Hip Fracture Among Thai Women Aged 50 Years and Over : A Prospective Study

SUTTHICHAI JITAPUNKUL, M.D.*,

PONGSAK YUKTANANDANA, M.D.**

Abstract

                Objectives : To compare post-discharge outcomes of hip-fractured Thai women aged 50 and over with age and sex-matched controls.

                Subjects and method : From 1995 to 1997, 60 Thai women aged 50 years and over with hip fracture who had been admitted to the King Chulalongkorn Memorial Hospital and their age and sex-matched controls (n = 60) were recruited in a case-control study. These 120 patients were followed for at least 1 year after discharge from the hospital by telephone and/or mailed questionnaire to obtain information about outcomes including death, dependency status and new fracture. Relatives of missing subjects were contacted and interviewed about the outcome status of the patients.

                Results : The mean age (SD) of those with and without hip fracture was 71.7 (7.6) and 71.2 (8) years, respectively. Of these 120 subjects, 3 cases and 3 controls could not be contacted. The longest follow-up period was 32 months. Means periods (SD) of follow-up among cases and controls were 18.8 (6.7) and 18.1 (6.6) months, respectively. Eleven cases and 5 controls died during the follow-up period. Seven cases and 3 controls died within 1 year after hospitalisation. The survival rate of the cases clealy separated from that of the controls after 1 year. There was a statistical significance of survival between the cases and controls (p < 0.05). The mean (SD) BAI and CAI scores one year after discharge of hip fractured subjects (n = 50) were 17.3 (3.4) and 5.5 (2.3), respectively. The mean (SD) BAI and CAI scores one year after discharge of the control subjects (n = 54) were 16.9 (5) and 5.3 (2.5), respectively. There was no statistically significant difference between dependency status among the two groups. Three (5.2%) cases and one (1.8%) control had new fractures during the follow-up period (no statistical significance).

                Conclusion : This study showed that appropriate management of hip fracture could maintain the dependency status of hip-fractured women for one year. However, Thai women aged 50 years and over with hip fracture had a higher mortality rate than those without hip fracture which suggests that hip fracture might be a sign of poor health status among these elderly women.

Key word : Hip Fracture, Thai, Women, Outcomes, Prospective Study, Suvival

JITAPUNKUL S & YUKTANANDANA P

J Med Assoc Thai 2000; 83: 1447-1451      

* Department of Medicine,

** Department of Orthopedics, Faculty of Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand.

ผลต่อเนื่องภายหลังกระดูกสะโพกหักในผู้หญิงไทยอายุ 50 ปีขึ้นไป : การศึกษาไปข้างหน้า

สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล, พ.บ.*, พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์, พ.บ.**

                วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบผลต่อเนื่องภายหลังออกจากโรงพยาบาลของผู้หญิงไทยอายุ 50 ปีขึ้นไปที่มีกระดูกสะโพกหัก กับกลุ่มควบคุมที่มีอายุและเพศเดียวกัน

                ประชากรศึกษาและวิธีการศึกษา : ระหว่าง พ.ศ. 2538-2540 ผู้หญิงไทยอายุ 50 ปีขึ้นไปที่มีกระดูกสะโพกหักและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์จำนวน 60 คน (กลุ่มศึกษา) และผู้หญิงที่มีอายุเท่ากันโดยไม่มีกระดูกหักและเข้ารับการรักษาในระยะเวลาเดียวกัน (กลุ่มควบคุม) จำนวน 60 คนได้รับการคัดเลือกเข้าในการศึกษา case-control ภายหลังจากถูกส่งตัวออกจากโรงพยาบาลผู้ป่วยทั้ง 120 คนได้รับการติดตามเพื่อเปรียบเทียบผลในระยะยาว ได้แก่ การเสียชีวิต สถานะพึ่งพาและกระดูกหักที่เกิดขึ้นใหม่ ในกรณีที่ไม่สามารถติดตามผู้ป่วยได้โดยตรงญาติจะได้รับการสัมภาษณ์แทน

                ผลการศึกษา : อายุเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ของผู้ป่วยที่มีและไม่มีกระดูกสะโพกหักเท่ากับ 71.7 (7.6) และ 71.2 (8) ปีตามลำดับ ในผู้ป่วยทั้งหมด 120 คนกลุ่มศึกษา 3 คนและกลุ่มควบคุม 3 คนไม่สามารถติดตามได้ ระยะเวลาที่ติดตามนานที่สุดคือ 36 เดือน ค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบน    มาตรฐาน) ของระยะเวลาที่ติดตามในกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมท่ากับ 18.8 (6.7) และ 18.1               (6.6) เดือนตามลำดับ ผู้ป่วย 11 รายในกลุ่มศึกษาและผู้ป่วย 5 คนในกลุ่มควบคุมเสียชีวิตในระยะเวลาที่ติดตาม ผู้ป่วยในกลุ่มศึกษา 7 รายและในกลุ่มควบคุม 3 รายเสียชีวิตในระยะ 1 ปีภายหลังออกจากโรงพยาบาล พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกราฟรอดชีวิตของกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม (p < 0.05) ค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ของคะแนน BAI และ CAI ที่หนึ่งปีภายหลังออกจากโรงพยาบาลของกลุ่มศึกษา (50 คน) เท่ากับ 17.3 (3.4) และ 5.5 (2.3) ตามลำดับ ค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ของคะแนน BAI และ CAI ที่หนึ่งปี ภายหลังออกจากโรงพยาบาลของกลุ่มควบคุม (54 คน) เท่ากับ 16.9 (5) และ 5.3 (2.5) ตามลำดับ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของสถานะพึ่งพาระหว่างกลุ่มทั้งสอง นอกจากนี้ยังพบว่าในกลุ่มศึกษา 3 ราย (ร้อยละ 5.2) และกลุ่มควบคุม 1 ราย (ร้อยละ 1.8) มีกระดูกหักเกิดขึ้นใหม่แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

                สรุป : การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการจัดการรักษากระดูกสะโพกหักที่เหมาะสมช่วยคงสถานะพึ่งพาที่ระยะ 1 ปี ภายหลังกระดูกหักไว้ได้เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม อย่างไรก็ตามผู้ป่วยหญิงไทยที่มีกระดูกสะโพกหักมีอัตราเสียชีวิตภายหลังออกจากโรงพยาบาลสูงกว่าผู้ที่ไม่มีกระดูกหักชัดเจนและชี้ว่ากระดูกสะโพกหักอาจเป็นอาการแสดงของภาวะสุขภาพที่ไม่ดีของผู้สูงอายุหญิงในการศึกษานี้

คำสำคัญ : กระดูกสะโพกหัก, ผู้หญิง, ไทย, ผลต่อเนื่อง, การศึกษาไปข้างหน้า

สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล, พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์

จดหมายเหตุทางแพทย์ ฯ 2543; 83: 1447-1451

 * ภาควิชาอายุรศาสตร์,

** ภาควิชาออร์โธปิดิกส์, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ 10330